พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 25 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday March 25, 2022 14:03 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 25 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 36/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25 - 26 มี.ค. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 31 มี.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเล จีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก (27 - 29 มี.ค. 65) จะเริ่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 25 - 28 มี.ค. 65 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 มี.ค. 65 จะมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งเวียดนามตอนใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 27 - 29 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25 - 27 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 31 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม. /ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 28 - 31 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควร ผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง อีกทั้งเกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง สำหรับในช่วงที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น โดยเฉพาะพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในวันที่ 26 และ ช่วงวันที่ 29 - 31 มี.ค. อากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 28 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 27 - 28 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง อีกทั้งเกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง และ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า นอกจากนี้ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25 - 27 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 31 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 28 - 31 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับในช่วงที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น โดยเฉพาะพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25 -26 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 31 มี.ค. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 27 - 31 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับในช่วงที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก รวมทั้งหนอนเจาะผลทุเรียน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะเจาะเข้าไปในเมล็ด กัดกินอยู่ภายในและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อน ส่งผลให้ผลผลิตทุเรียนเสียหาย ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 -28 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 26 -28 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 -37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตก กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตกเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น สำหรับช่วงนี้ดินและอากาศจะมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรครากเน่าโคนเน่า และโรคราสีชมพู เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก รวมทั้งหนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 18-24 มีนาคม 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในวันแรกของช่วงและปกคลุมภาคเหนือตอนบนในวันสุดท้ายของช่วง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันสุดท้ายของช่วง นอกจากนี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียในระยะต้นช่วง ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงในระยะกลางช่วง จากนั้นลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงบ่ายของวันที่ 20 มี.ค. และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเมียนมาเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 22 มี.ค. ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดช่วงโดยเฉพาะในระยะครึ่งแรกของช่วงมีฝนตกชุกหนาแน่น

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 19 และ 24 มี.ค. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิษณุโลก แม่ฮ่องสอน แพร่ และเพชรบูรณ์ในวันที่ 18 มี.ค. จังหวัดลำพูนในวันที่ 19 มี.ค. และจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 23 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 19 และ 20 มี.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันแรกของช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองคาย ยโสธร และปราจีนบุรีในวันที่ 18 มี.ค. และจังหวัดร้อยเอ็ดและอุดรธานีในวันที่ 23 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 19 มี.ค. มีฝนร้อยละ 15 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและปลายช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี และสระบุรีในวันที่ 18 มี.ค. และจังหวัดชัยนาทในวันที่ 23 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 18 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกและระยะปลายช่วงมีฝนร้อยละ 35-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปัตตานีในวันที่ 20 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 21-22 มี.ค. มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดกระบี่ในวันที่ 23 มี.ค.

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ชัยนาท นครนายก ฉะเชิงเทรา และนครศรีธรรมราช ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ