พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday March 28, 2022 15:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 37/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 - 31 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน อ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะเริ่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น หลังจากนั้น บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตอนบนช่วยคลายความร้อนลง อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนกลางและประเทศกัมพูชา ในช่วงวันที่ 1 - 2 เม.ย. ทำให้ลมฝ่ายตะวันออกที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน อ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และในช่วงวันที่ 1 - 3 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใกล้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆ และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนคลื่นลมจะมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29 - 31 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 3 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. หลังจากนั้น มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวโดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงและดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29 - 31 มี.ค. อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 3 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. หลังจากนั้น มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า ระยะนี้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29 - 31 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. หลังจากนั้น มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 1 - 2 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ แม้จะมีฝนตก แต่บางพื้นที่ปริมาณฝนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำพืชเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชไร่ และพืชผัก เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29 - 30 มี. ค. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี. ค. - 2 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับในช่วงที่ฝนตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 28 - 30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี. ค. - 3 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 28 - 31 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 3 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ระยะนี้จะมีฝนกับฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 21 - 27 มีนาคม 2565 พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเมียนมาเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 22 มี.ค. และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศเมียนมาในวันถัดมา ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีกำลังแรงในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นมีกำลังอ่อนลง โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ในระยะกลางสัปดาห์ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์และอากาศคลายความร้อนอบอ้าวลงโดยมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ต่อจากนั้นบริเวณดังกล่าวมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลงและอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป สำหรับภาคใต้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะต้นและกลางสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ และมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 22-23 มี.ค. ส่วนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 23 มี.ค. จังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 26 มี.ค. และจังหวัดเชียงรายในวันที่ 27 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 26 มี.ค. มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ดในวันที่ 23 มี.ค. จังหวัดอุดรธานีในวันที่ 23 และ 25 มี.ค. จังหวัดกาฬสินธุ์ในวันที่ 25 มี.ค. จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และมหาสารคามในวันที่ 26 มี.ค. และจังหวัดมุกดาหารในวันที่ 27 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 23 มี.ค. และจังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 24 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 75-80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 22-23 และ 26 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 35-80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อน บางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 23-25 มี.ค. มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดกระบี่ในวันที่ 23 มี.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดหนองคาย และชัยนาท ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ตาก กำแพงเพชร เลย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ