พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 18 - 24 เมษายน พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday April 18, 2022 14:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 18 - 24 เมษายน พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 46/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 18-20 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน/ จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งรวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบทำให้บริเวณดังกล่าว มีอากาศร้อนและมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง

คำเตือนในช่วงวันที่ 18-20 เม.ย. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-20 เม.ย. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 เม.ย. 65 อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 18-20 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไม่ควรตากไว้กลางแจ้งในระยะนี้ เนื่องจากอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19-24 เม.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • สำหรับฝนที่ตกและหยุดสลับกันในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรสำรวจ ซ่อมแชมหลังคาโรงเรือน อย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนอ่อนแอและจะเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-20 เม.ย. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 เม.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 18-20 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดิน ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกชิเจนให้แก่น้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 18-19 เม.ย. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 เม.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 18-19 เม.ย. จะมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโคนล้ม เมื่อมีลมแรง รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคผลเยน่าในไม้ผล เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกชิเจนให้แก่น้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 18-21 เม.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 18-21 เม.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะที่มีฝนตกหนักไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะหนอนกินใต้ผิวเปลือกในลองกอง เป็นต้น
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์และในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะกลางสัปดาห์ อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนบางพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น สำหรับภาคใต้มีลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีลมตะวันตกกำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย โดยในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพะเยาในวันที่ 12 เม.ย. จังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 13, 15 และ 16 เม.ย. จังหวัดแพร่ในวันที่ 14 เม.ย. จังหวัดเชียงรายและเพชรบูรณ์ในวันที่ 16 เม.ย. จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และพิจิตรในวันที่ 17 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูในวันที่ 14 เม.ย. จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 16 เม.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลยและมุกดาหารในวันที่ 13 เม.ย. จังหวัดยโสธรและชัยภูมิในวันที่ 14 เม.ย. จังหวัดสกลนคร มหาสารคาม และชัยภูมิในวันที่ 16 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์และในวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 11 เม.ย. จังหวัดอ่างทองและสิงห์บุรีในวันที่ 17 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทั่วไปทางตอนบนของภาค โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ และมีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรีในวันที่ 17 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 14 เม.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงและน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสงขลาในวันที่ 14 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดพะเยา อุดรธานี ระยอง และพัทลุง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เลย หนองคาย สกลนคร นครพนม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ยโสธร ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ