พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday April 25, 2022 14:06 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 49/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 25-27 เม.ย. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้/ บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 28 เม.ย.-1 พ.ค. 65 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือนในช่วงวันที่ 25-27 เม.ย. 65 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในบางพื้นที่เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานในโล่งแจ้งในช่วงแดดจัดเป็นเวลานาน ในช่วงวันที่ 28 เม.ย.-1 พ.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงรวมถึงอันตรายจากฟ้าผ่า

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. 65 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย.-1 พ.ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • สำหรับอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25-27 เม.ย. 65 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 เม.ย.-1 พ.ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวันและมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวไหม้และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนปริมาณน้ำระเหยที่มีมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงและดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25-27 เม.ย. 65 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 เม.ย.-1 พ.ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • สำหรับฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ แม้จะมีฝนตกบางพื้นที่ แต่ปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชตายสูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 25-27 เม.ย. 65 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 28 เม.ย.-1 พ.ค. 65 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-90 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่น เน่าเสีย และเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดนอกสวน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. 65 มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย.-1 พ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 25-28 เม.ย. 65 มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย.-1 พ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

  • สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 18-24 เมษายน 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นอ่อนกำลังลง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวตลอดสัปดาห์ อีกทั้งมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะกลางสัปดาห์ โดยมีความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงจากช่วงที่ผ่านมาและมีฝน แต่ยังคงมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและกลางสัปดาห์ หลังจากนั้นมีอากาศร้อนทั่วไปกับอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมตลอดสัปดาห์ โดยมีกำลังปานกลางในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นในช่วงดังกล่าว

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ทางตอนล่างของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่ง จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 18 เม.ย. จังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 19 เม.ย. จังหวัดน่านและลำปางในวันที่ 20 เม.ย. จังหวัดเชียงใหม่ อุตรดิตถ์ และเชียงรายในวันที่ 21 เม.ย. และจังหวัดสุโขทัยวันที่ 22 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ในวันที่ 18, 21 และ 22 เม.ย. กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์และนครราชสีมาในวันที่ 18 เม.ย. จังหวัดขอนแกนวันที่ 22 เม.ย. จังหวัดสกลนครวันที่ 24 เม.ย. โดยมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดชัยภูมิในวันที่ 18 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดชัยนาทในวันแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ โดยมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์และวันที่ 22 เม.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี และจังหวัดชัยนาทในวันที่ 18 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่ในวันที่ 18 และ 21 เม.ย. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 75-80 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 18, 20, 21 และ 24 เม.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และระยอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และพังงา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ