พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday April 29, 2022 15:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 51/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 3 พ.ค. ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 1-5 พ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 3 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกในบางพื้นที่ และฟ้าผ่า สำหรับในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 5 พ.ค. บริเวณภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนหรือพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ โดยในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. จะมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า นอกจากนี้ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง มีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนหรือพายุฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง มีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นสะสมป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 5 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. ฝั่

งตะวันตก ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 5 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 5 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำขัง นอกจากนี้ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 22 - 28 เมษายน 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวตลอดช่วงโดยมีกำลังแรงขึ้นในวันสุดท้ายของช่วง อีกทั้งมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันแรกของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากช่วงที่ผ่านมากับมีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วงและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะกลางและปลายช่วง โดยยังคงมีฝนตกตลอดช่วงส่วนมากในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง สำหรับภาคใต้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในระยะต้นและกลางช่วงจากนั้นมีลมตะวันตกพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดช่วง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาคมีฝนหนาแน่นในระยะกลางและปลายช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะกลางช่วงและมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะปลายช่วง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุโขทัยวันที่ 22 เม.ย. จังหวัดแพร่ ลำพูน และเพชรบูรณ์ในวันที่ 26 เม.ย. จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน และพิจิตรในวันที่ 28 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 26 และ 28 เม.ย. โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดขอนแก่นวันที่ 22 และ 28 เม.ย. จังหวัดสกลนครวันที่ 24 และ 28 เม.ย. จังหวัดมุกดาหารในวันที่ 25 และ 27 เม.ย. จังหวัดนครพนม ชัยภูมิ และยโสธรในวันที่ 26 เม.ย. จังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคาม และอำนาจเจริญในวันที่ 27 เม.ย. จังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ในวันที่ 28 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะปลายช่วง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละร้อยละ 10 ของพื้นที่ เว้นแต่ในแรกและวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 40 และ 90 ของพื้นที่ ตามลำดับ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยาในวันที่ 28 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคตลอดช่วง โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วงมีฝนร้อยละ 40 และ 90 ของพื้นที่ ตามลำดับ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดจันทบุรีวันที่ 28 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 22 และ 26 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 22, 23 และ 27 เม.ย. มีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางและปลายช่วง

ช่วงที่ผ่านมามีรายงายฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี และนครปฐม ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ยโสธร ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีน สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ