พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday May 9, 2022 15:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 55/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง และยังคงมีฝนตกต่อเนื่องบริเวณประเทศไทยตอนบน เนื่องจากพายุไซโคลน "อัสนี" ที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงแล้ว และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือสู่บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน มีกำลังปานกลาง โดยคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร และอ่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

คำเตือน สัปดาห์นี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 9-11 พ.ค. ภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันเกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ในวันที่ 9-10 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอเกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นสะสมป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 9-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 12-15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ในช่วงวันที่ 9-11 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง นอกจากนี้ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 2 - 8 พฤษภาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นมีกำลังอ่อนลง โดยในวันสุดท้ายของสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศกัมพูชาในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้เคลื่อนมาปกคลุมบริเวณภาคใต้ในวันที่ 3 พ.ค. นอกจากนี้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้นในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนใน

หลายพื้นที่ โดยประเทศไทยตอนบนมีฝนหนาแน่นในวันแรกและในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีลมตะวันตกพัดปกคลุมในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีกำลังแรงขึ้นได้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 65-85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 3-5 พ.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 2 พ.ค. และจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 7 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 4-5 พ.ค. มีฝนร้อยละ 10-15 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 7 พ.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครพนมในวันที่ 7 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในวันที่ 3-4 พ.ค. จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ในวันที่ 2 และ 6 พ.ค. และมีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในวันที่ 3-4 พ.ค. จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 3-5 พ.ค. มีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 2 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 3 พ.ค. และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 4-7 พ.ค. และจังหวัดชุมพรในวันที่ 5 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันที่ 6 พ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 4 พ.ค. มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ หนองคาย อุดรธานี ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนมมุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม นครนายก สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ