พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 10 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 69/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 10-13 มิ.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ น้ำป่าไหลหลากได้ คำเตือน ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 10-13 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว จากสภาวะที่มีฝนตกติดกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสภาพสวนหรือแปลงปลูกพืชให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อช่วยลดระดับความรุนแรงของโรคดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดิน ควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นแล้วยังเป็นการเพิ่มอากาศในบ่อเลี้ยง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 10-13 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นการป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 10-13 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก ในระยะที่มีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นแล้วยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้า
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 10-13 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้นรา โดยดูแลสภาพสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียรวมทั้งเปลือกของไม้ผลกองสุมอยู่ในบริเวณส่วน แต่ควรนำไปกำจัดนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออกในวันที่ 10-13 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อป้องกันน้าแยกชั้นแล้วยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
ระหว่างวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นได้เคลื่อนไปปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย โดยมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวในระยะครึ่งหลังของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วงจากนั้นมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 35-80 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 3 มิ.ย. และจังหวัดเชียงรายในวันที่ 4 มิ.ย.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นช่วง จากนั้นมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลงโดยมีฝนร้อยละ 10-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู และศรีสะเกษในวันที่ 3 มิ.ย. และจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 7 มิ.ย.
ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลงโดยมีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 4 มิ.ย.
ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 45-70 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลงโดยมีฝนร้อยละ 15-25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางแห่งในวันแรกของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 4 มิ.ย. เว้นแต่ในวันที่ 5 และ 8 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตรังและสตูลในวันที่ 2 มิ.ย.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี จันทบุรี ตราด และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา