พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday June 13, 2022 14:43 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 13 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 70/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อม/ ความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

คำเตือนในช่วงวันที 14-16 มิ.ย. ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ จากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่ ซึ่งอยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลจนถึงระยะเก็บเกี่ยวควรระวังหนอนเจาะขั้วผล โดยหนอนจะเจาะขั้วผลแก่ ทำให้ผลร่วง ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว จากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรที่อยู่นอกพื้นที่เขตชลประทานควรกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อยหรือในระยะฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 14-15 มิ.ย. 65 มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. จะมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อเพิ่มอากาศในน้ำและป้องกันน้ำแยกชั้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืชเมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับในบางพื้นที่ซึ่งมีฝนที่ตกติดต่อกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนเจาะผลและหนอนกินใบในไม้ผล เป้นต้น
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 6 - 12 มิถุนายน 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยเกือบตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของภาคยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 35-70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกและระยะปลายสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 6, 7, 10 และ 12 มิ.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 7 มิ.ย. และจังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 10 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 15-45 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 9-11 มิ.ย. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 9 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-70 ของพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 15-25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 6, 8 และ 12 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 35-65 ของพื้นที่เว้นแต่ในวันที่ 9, 11 และ 12 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 35-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 12 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 10 มิ.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เลย หนองคาย นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ