พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday June 20, 2022 14:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 20 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 73/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าว/ ไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง

คำเตือนในช่วงวันที 22-26 มิ.ย. ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนัก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ อาคารก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. และ 25-26 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรสำรวจดูแลการผูกยึดค้ำกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ผักในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาว และกะหล่ำดอก เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. และ 25-26 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 22-24 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้ สำหรับบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้หอมในหอมแดงและหอมหัวใหญ่ เป็นต้น

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งควรดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรคใบจุดในผักสลัด เป็นต้น

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสผลไม้ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมอากาศในน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนวันที่ 22-26 มิ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับในพื้นที่ซึ่งมีฝนที่ตกติดต่อกัน ทำให้ในดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนเจาะผลและหนอนกินใบในไม้ผล เป็นต้น
ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13-19 มิถุนายน 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและตอนบนของภาคเหนือโดยพาดเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ โดยมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในวันที่ 14-16 มิ.ย. กับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกและภาคใต้ในวันที่ 17 มิ.ย. ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีฝนตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในระยะกลางสัปดาห์มีฝนตกชุกในเกือบทุกภาค

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในระยะกลางสัปดาห์ มีฝนร้อยละ 50-80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลำปางและน่านในวันที่ 15 มิ.ย. จังหวัดสุโขทัยในวันที่ 15 และ 17 มิ.ย. จังหวัดกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และพะเยาในวันที่ 17 มิ.ย. และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดน่านในวันที่ 15 มิ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 15 และ 17 มิ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 13 มิ.ย. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุรินทร์ในวันที่ 13-15 มิ.ย. จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 14 และ 17 มิ.ย. จังหวัดอุดรธานีและหนองบัวลำภูในวันที่ 15 มิ.ย. จังหวัดชัยภูมิในวันที่ 16 มิ.ย. จังหวัดอำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมาในวันที่ 17 มิ.ย. และจังหวัดบุรีรัมย์ในวันที่ 18 มิ.ย. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 13, 14 และ18 มิ.ย. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์และในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 15 มิ.ย. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 15 และ 17 มิ.ย. มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 15 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 30-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 16 และ 18 มิ.ย. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 14 มิ.ย. และรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 14 มิ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 15 และ 19 มิ.ย. มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14 และ 15 มิ.ย. โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตรัง ในวันที่ 17 มิ.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด กรุงเทพมหานคร และพัทลุง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง และพังงา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ