พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 22 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ออกประกาศศุกร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 87/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ กับมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ก.ค. ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และระวังน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรคใบจุดในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เป็นต้น นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานานเพราะอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 22-24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
- ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ควรเก็บกวาดเศษซากวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตร ไม่ให้กองสุมไว้ให้เป็นแหล่งหลบซ่อนของสัตว์มีพิษ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 25-28 ก.ค. ในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24-28 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %
- ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนัก และควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นสะสมป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ระหว่างวันที่ 15 - 21 กรกฎาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลางเกือบตลอดช่วง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันแรกของช่วง กับมีร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะครึ่งหลังของช่วง นอกจากนี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 18-19 ก.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนหนาแน่นเพิ่มขึ้นในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนตกเกือบตลอดช่วงส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนเพิ่มขึ้นโดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 15, 17 และ 18 ก.ค. มีฝนร้อยละ 20-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานีในวันที่ 15 ก.ค. จังหวัดเลยในวันที่ 15, 17 และ 20 ก.ค. จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 17 ก.ค. และจังหวัดขอนแก่นในวันที่ 21 ก.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดศรีสะเกษในวันที่ 17 ก.ค. และจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 18 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 15, 17 และ 18 ก.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในวันที่ 16, 20 และ 21 ก.ค. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชลบุรีและระยองในวันที่ 21 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 20 ก.ค. มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 18, 19 และ 21 ก.ค. มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง และมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดภูเก็ตในวันที่ 16 ก.ค.
ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ พิษณุโลก อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา