พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 25 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 88/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 25 - 28 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 29 - 31 ก.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 30 - 31 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.
- สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ สำหรับฝนที่ตกชุกในระยะนี้ทำให้ความชื้นในดินและในอากาศสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่นโรคแอนแทรกโนส และโรครากเน่าโคนเน่า เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็วมีเวลาพักตัวได้นานขึ้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 26 - 29 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 - 31 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
- ในช่วงที่มีฝนตก บางพื้นที่อาจมีน้ำขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู สำหรับในช่วงที่มีฝนตกชุกดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมา กับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยดังกล่าวไปทำลาย เพื่อป้องกันหอยเข้าในแปลงนา แพร่พันธุ์ และกัดกินต้นข้าวในระยะต่อไป
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนานทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนในช่วงที่มีฝนตกชุกดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกกล้วยไม้ควรระวังและป้องกันโรคยอดเน่า โรคจุดสนิม และโรคใบจุด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ หากพบควรรีบกำจัด เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.
- ในช่วงที่มีฝนตกหนักอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนานทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรครากเน่าในพริกไทย เป็นต้น
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 2-6 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
- ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออกกับจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหน้ากรีดยางและโรคราสีชมพูในยางพารา โรคใบจุดสนิมในกาแฟเป็นต้น ส่วนทางฝั่งตะวันออกฝนที่ตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
ระหว่างวันที่ 18 - 24 กรกฎาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ โดยมีกำลังแรงขึ้นในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในช่วงวันที่ 20-23 ก.ค. นอกจากนี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะต้นสัปดาห์กับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในระยะปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 19-22 ก.ค. มีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่และมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกเกือบตลอดสัปดาห์ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 19 และ 21 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 20-22 ก.ค.
จังหวัดลำปาง พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ในวันที่ 22 ก.ค. จังหวัดเชียงใหม่และอุตรดิตถ์ในวันที่ 23 ก.ค. และจังหวัดเชียงรายในวันที่ 23-24 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 18, 23 และ 24 ก.ค. มีฝนร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 20-21 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ และขอนแก่นในวันที่ 20-21 ก.ค. และจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 23 ก.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 18 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 18 และ 23 ก.ค. มีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 18, 19 และ 23 ก.ค. มีฝนร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชลบุรีและระยองในวันที่ 21 ก.ค. และจังหวัดจันทบุรีในวันที่ 24 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 20 และ 22 ก.ค. มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 23 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลาในวันที่ 23 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 18, 19 และ 21 ก.ค. มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 20 ก.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดแพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด ยะลา ระนอง และพังงา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา