พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday August 1, 2022 16:01 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 91/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 1 - 5 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน ภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 ส.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังในการเดินเรือ และสำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 6 - 7 ส.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-85 % ความยาวนานแสงแดด 2-4 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะโรครากเน่าและโคนเน่าในมะละกอ โรคราน้ำฝนในลำไย และโรครากเน่าโคนเน่าในสับปะรด เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % ความยาวนานแสงแดด 1-4 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยระยะนี้จะมีฝนตกชุก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม ทำแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ และไม่ควรปล่อยให้พื้นคอกชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 2 - 5 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1 - 5 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 1-4 ชม.

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 2 - 7 ส.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 1-4 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 1 - 5 ส.ค. ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 ส.ค. ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนไม้ผลที่หักโค่นในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูและผูกยึดให้ตั้งตรง หากมีรอยแผลให้ทำความสะอาดแล้วทาแผลด้วยสารป้องกันเชื้อรา สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 25 - 31 กรกฎาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ต่อจากนั้นมีกำลังปานกลาง ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นได้พัดปกคลุมทุกภาคของประเทศไทยในระยะกลางสัปดาห์ นอกจากนี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะปลายสัปดาห์ โดยในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าว ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในระยะปลายสัปดาห์มีฝนตกชุกหนาแน่น ส่วนภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค

ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนในวันที่ 25 ก.ค. จังหวัดน่านในวันที่ 26 ก.ค. จังหวัดอุตรดิตถ์ในวันที่ 27 ก.ค. และจังหวัดเชียงรายในวันที่ 30 ก.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 30 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ในวันที่ 26 ก.ค. และจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 28 ก.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร ขอนแก่น และชัยภูมิในวันที่ 26 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 27, 29 และ 31 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในวันที่ 28 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 27, 28 และ 31 ก.ค. มีฝนร้อยละ 75-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 27, 30 และ 31 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 27 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 26-27 ก.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลาในวันที่ 27 ก.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนราธิวาสในวันที่ 27 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 ก.ค. มีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 26 ก.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ ร้อยเอ็ด อ่างทอง นครปฐม สระแก้ว นครศรีธรรมราช ยะลา และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย ลำปาง น่าน สุโขทัย พิษณุโลก เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ