พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 17 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 98/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 18-19 ส.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน / และประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่าที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ท่าให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่าบริเวณประเทศลาวตอนบนและเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีก่าลังแรงขึ้น ท่าให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
คำเตือนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. 56 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน่าท่วมฉับพลัน น่าป่าไหลหลากได้
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
- ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุกโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรที่ควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน่าท่วมฉับพลัน น่าป่าไหลหลาก และน่าล้นตลิ่งได้ ส่าหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ท่าให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าเปียกในพริก โรคดอกเน่าในดาวเรือง เป็นต้น ส่าหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน่าท่วมในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน่าลดลงแล้วเกษตรกรควรเร่งฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน่าให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 17-18 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.
- ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุกโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมรองเทาบูททุกครั้ง เพื่อปองกันโรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 18-19 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- เนื่องจากในระยะนี้มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคดอกเน่าในดาวเรือง โรครากเน่าและโคนเน่าในมะละกอ โรคลำต้นเน่าหรือโคนเน่าขาวในถั่วลิสง เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรหมั่นดูแลโรงเรือนใหมั่นคงแข็งแรง หลังคาไม่รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพใชงาน เพื่อปองกันสัตวเลี้ยงเปียกฝน จนออนแอ และจะเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 18-19 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.
- ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุก โดยในบางพื้นที่จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ จากฝนที่ตกติดต่อกันในระยะนี้เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก เช่น โรคยอดเน่ารากเน่าในสับปะรด โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดิน ควรเปิดเครื่องตีน้าหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกชิเจนในน้า
ภาคใต้
ใต้ ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 18-19 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 18-19 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ โดยดูแลระบบระบายน้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย
ระหว่างวันที่ 10-16 กรกฎาคม 2565 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก พิจิตร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น นครราชสีมา นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี นครศรีธรรมราช และระนอง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ปทุมธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด พัทลุง สงขลา นราธิวาส พังงา กระบี่ และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา