พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม - 1 กันยายน พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 102/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 27 ส.ค. - 28 ก.ย. 65 ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมาและลาวตอนบน / ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 29 ส.ค. -1 ก.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก อ่าวไทย และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น
คำเตือนในช่วงวันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย. 56 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 27 ส.ค. - 1 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม.
- ในระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรเร่งระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและฟื้นฟูสภาพสวน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.
- ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรเร่งระบายน้ำออกจากแปลงปลูกพืช เพราะหากน้ำท่วมขังต้นพืชนานจะทำให้ระบบรากของพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำท่วมขังที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมรองเทาบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 27-29 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 30 ส.ค. - 1 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- สำหรับฝนที่ตกและหยุดสลับกันในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. และ 1 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29-31 ส.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 27 ส.ค. - 1 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 29-30 ส.ค. 65 ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. และ 31 ส.ค. - 1 ก.ย. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 ส.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 27 ส.ค. - 1 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 29-30 ส.ค. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ระยะนี้ยังมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เป็นต้น สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย
ระหว่างวันที่ 19-25 สิงหาคม 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นร่องมรสุมดังกล่าวได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 24 ส.ค. แล้วมีกำลังแรงและเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่พายุโซนร้อนกำลังแรง "หมาอ๊อน (MA-ON, 2209)" ในวันสุดท้ายของช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง โดยมีกำลังปานกลางในระยะครึ่งแรกของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของช่วงและในระยะปลายช่วง กับมีรายงานลมกระโชกแรงและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาคมีฝนหนาแน่นตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 19 และ 23 ส.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 20 และ 24 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 20 ส.ค. จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลกในวันที่ 21 ส.ค. และจังหวัดลำปางในวันที่ 21 และ 25 ส.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพะเยา ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และกำแพงเพชรในวันที่ 25 ส.ค.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 22-23 ส.ค. มีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดช่วง โดยเฉพาะในวันที่ 20 ส.ค. มีฝนหนักในหลายพื้นที่ และมีฝนหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดบึงกาฬ มุกดาหาร ชัยภูมิ ยโสธร มหาสารคาม และอุบลราชธานีในวันที่ 20 ส.ค. จังหวัดอุดรธานีและขอนแก่นในวันที่ 21 ส.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 19 ส.ค. จังหวัดยโสธรในวันที่ 20 ส.ค. และจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 25 ส.ค. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 20, 22 และ 23 ส.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดอ่างทองในวันที่ 21 ส.ค. และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในวันที่ 22 และ 25 ส.ค.
ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 21-23 ส.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 19, 24 และ 25 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดจันทบุรีในวันที่ 24 ส.ค. และจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 25 ส.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีและตราดในวันที่ 25 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 25-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 20, 21 และ 25 ส.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 21 และ 25 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพังงาและภูเก็ตในวันที่ 22 ส.ค.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านม มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ระนอง พังงา กระบี่ และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน น่าน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสงคราม สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา