พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 5 - 11 กันยายน พ.ศ. 2565
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 106/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. 65 ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ก.ย. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือนในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. 56 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะที่ราบลุ่ม ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักทะเลอันดามันและอ่าวไทย เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 9 ก.ย.
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.
ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียจากสภาวะดังกล่าว จากสภาวะที่ฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก และพืชผักไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรเตรียมพื้นที่ สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยง ในกรณีเกิดน้ำท่วม รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 5-6 และ 9 - 11 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ เป็นต้น ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผัก เช่น โรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้งในพริก โรคโคนเน่า หัวเน่าในมันสำปะหลัง เป็นต้น
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ดอก และพืชผัก สำหรับชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรีที่ลอยมากันน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเขาแปลงนา เพื่อป้องกันกันหอยเชอรีเข้าไปขยายพันธุและกัดกินตนข้าว
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ก.ย. 65 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-7 ชม.
ระยะนี้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้า อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. คลื่นบริเวณอ่าวไทยตอนบนสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ก.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. 65 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ก.ย. 65 ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.
มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว เนื่องจากในระยะนี้มีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรควรเฝ้าระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง สำหรับเกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งขอให้ระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย
ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม - 4 กันยายน 2565 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ในวันที่ 30-31 ส.ค. ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 1-2 ก.ย. โดยร่องมรสุมดังกล่าวได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในระยะปลายสัปดาห์ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนตกชุกเกือบทั่วไป กับมีรายงานลมกระโชกแรงและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาคมีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะกลางและปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักมากบางแห่งในวันที่ 31 ส.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตากในวันที่ 29 ส.ค. จังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 29 ส.ค. และ 4 ก.ย. จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน และพิจิตรในวันที่ 1 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรง บริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 29 ส.ค. จังหวัดพิษณุโลกวันที่ 31 ส.ค. และจังหวัดเชียงรายในวันที่ 1 ก.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 29-30 ส.ค. และ 1 ก.ย. มีฝนร้อยละ 30-35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 31 ส.ค. และ 4 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดมหาสารคามในวันที่ 29 ส.ค. จังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ในวันที่ 31 ส.ค. และจังหวัดเลยในวันที่ 4 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดยโสธรและเลยในวันที่ 31 ส.ค. และจังหวัดกาฬสินธุ์ในวันที่ 1 ก.ย. ภาคกลาง มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์และในระยะปลายสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 15-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสระบุรีในวันที่ 1 ก.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 29 ส.ค. จังหวัดสระบุรีในวันที่ 1 ก.ย. จังหวัดราชบุรีในวันที่ 1 และ 3 ก.ย. และจังหวัดสิงห์บุรีในวันที่ 3 ก.ย.
ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 ส.ค., 1 และ 2 ก.ย. มีฝนร้อยละ 25-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 31 ส.ค. และ 4 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครนายก และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย. จังหวัดจันทบุรี สระแก้ว และชลบุรีในวันที่ 31 ส.ค. และจังหวัดระยองในวันที่ 4 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 30-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 29 ส.ค. และ 1 ก.ย. และจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 1 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของสัปดาห์มีฝนร้อยละ 50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ในวันที่ 2 ก.ย. และจังหวัดตรังในวันที่ 4 ก.ย. ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย เลย อุดรธานี นครพนม ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา