ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ
ระหว่าง 31 มีนาคม 2551 - 06 เมษายน 2551
ภาคเหนือ
อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัว ในวันที่ 31 มี.ค.-3 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย โดยมีลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ต่อจากนั้นฝนฟ้าคะนองจะลดลง เกษตรกรควรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ขณะฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง นอกจากนี้ไม่ควรเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะจะเพิ่มหมอกควันในอากาศ และควันไฟจะทำให้ทัศนวิสัยลดลง โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนหนทาง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และเป็นการซ้ำเติมสภาวะโลกร้อน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-3 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ต่อจากนั้นจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ และอากาศร้อน เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน อาจทำให้สัตว์อ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยงหากเป็นโรคควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วรักษาเพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังสัตว์ตัวอื่นๆ โดยเฉพาะโรคที่มักเกิดในฤดูร้อน
ภาคกลาง
อากาศร้อน ในระหว่างวันที่ 31 มี.ค.- 4 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ต่อจากนั้นจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังป้องกันความเสียหายจากฝนตกหนักและลมกระโชกแรงโดยตรวจสอบวัสดุที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและ ลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน เพราะหากอุณหภูมิสูงจะทำให้สัตว์เครียด อ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งขณะแดดจัดเป็นเวลานานๆ หากมีความจำเป็นก็ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำมากๆ
ภาคตะวันออก
อากาศร้อนทางตอนบนของภาค ในระหว่างวันที่ 31 มี.ค.- 4 เม.ย.มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ต่อจากนั้นมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณที่มีฝนตกน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล หากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจายตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของฝั่งตะวันออก สำหรับทางตอนบนของภาคซึ่งมีฝนตกน้อย น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอโดยเฉพาะ พืชที่มีระบบรากสั้น และไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ชะงัก การเจริญเติบโต สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำสำรองเอาไว้ใช้ในช่วงต่อไปที่อาจมีฝนตกน้อย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-