พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday October 3, 2022 14:11 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 3 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 118/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 3-4 ต.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับลมตะวันออก/ และลมออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาตใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

คำเตือน ขอให้ประชาชน ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในวันที่ 3 และ 9 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้ยังมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุกหนาแน่นและมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ เพราะหากปล่อยให้น้ำท่วมขังนาน จะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในวันที่ 3 และ 9 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 4-8 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ระยะนี้ยังมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุกหนาแน่นและบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนบริเวณพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 3-4 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • ระยะนี้จะยังมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งไว้ด้วย โดยดูแลระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร เมื่อมีฝนตกหนัก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผล ไม้ดอก และพืชผัก สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขัง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 3-4 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • ระยะนี้ยังมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุกหนาแน่นและบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น ส่วนพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้วควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ เพราะหากน้ำท่วมขังนานอาจทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตี น้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 3-4 ต.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-6 ชม.

  • มีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคราสนิมในกาแฟ โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 26 กันยายน - 2 ตุลาคม 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะต้นและปลายสัปดาห์ โดยพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่ไต้ฝุ่น "โนรู (NORU, 2216)" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางในระยะต้นสัปดาห์ ซึ่งต่อมาได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนาม ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 28 ก.ย. จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 28 ก.ย. และอ่อนกำลงเป็นพายุดีเปรสชันเมื่อเวลา 18.00 น. ของวันเดียวกัน พายุลูกนี้ได้เคลื่อนตัวผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น และชัยภูมิ ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 30 ก.ย. และปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือในวันที่ 1 ต.ค. ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ โดยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะกลางสัปดาห์ โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นเป็นบริเวณกว้างเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 27-28 ก.ย. มีฝนร้อยละ 25-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 26-27 ก.ย. จังหวัดลำพูนและสุโขทัยในวันที่ 26-28 ก.ย., 1, 2 ต.ค. จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 26 ก.ย. และ 1 ต.ค. จังหวัดลำปางในวันที่ 26 ก.ย., 1, 2 ต.ค. จังหวัดพิจิตรในวันที่ 28 ก.ย. - 2 ต.ค. จังหวัดตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ในวันที่ 29 ก.ย. - 2 ต.ค. จังหวัดในแม่ฮ่องสอนและพะเยาในวันที่ 1 ต.ค. จังหวัดอุตรดิตถ์ น่าน และแพร่ในวันที่ 2 ต.ค. และรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 1 ต.ค. หนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 26-27 ก.ย. จังหวัดหนองบัวลำภูในวันที่ 26-28 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 65-75 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงก.ย. จังหวัดขอนแก่น ศรีสะเกษ และชัยภูมิในวันที่ 26 ก.ย. - 2 ต.ค. จังหวัดอำนาจเจริญและยโสธรในวันที่ 28 และ 29 ก.ย. จังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ในวันที่ 30 ก.ย. - 2 ต.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดศรีสะเกษในวันที่ 28 ก.ย. จังหวัดมุกดาหารในวันที่ 29 ก.ย. และจังหวัดกาฬสินธุ์ในวันที่ 30 ก.ย.

ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 27 ก.ย. และ 1 ต.ค. มีฝนร้อยละ 55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 26, 28, 29 ก.ย. และ 2 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสระบุรีในวันที่ 29 ก.ย.

ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระยองในวันที่ 26 ก.ย. จังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 26 ก.ย.- 2 ต.ค. และจังหวัดสระแก้วในวันที่ 29 ก.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-95 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 28-30 ก.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพังงาในวันที่ 30 ก.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ชลบุรี ตราด นราธิวาส ระนอง พังงา และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ภูเก็ต และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ