พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday October 7, 2022 15:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 7 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ออกประกาศวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 120/2565

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7 - 8 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุมภาคเหนือ/ ตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ มีกำลังอ่อนลง ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คำเตือน ในช่วงวันที่ 7 - 10 ต.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ์าคะนองกับมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป์ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป์องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 7 - 10 ต.ค. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 9 -10 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ต.ค. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค.จะมีฝนฟ์าคะนองกับฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป์ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป์องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วเกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะอาจทำให้เสียหายได้ ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลุกพืชในช่วงปลายฤดูฝนควรมีน้ำสำรองไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตด้วย ส่วนพื้นที่การเกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 7 - 9 ต.ค. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีลมกระโชกแรงในช่วงวันที่ 8 - 9 ต.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีฝนร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค.จะมีฝนฟ์าคะนองกับฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป์ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วเกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะอาจทำให้เสียหายได้ อีกทั้งระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป์องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 7 - 10 ต.ค. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 9 - 10 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ต.ค. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค.จะมีฝนฟ์าคะนองกับฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป์ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป์องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนในพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น รวมทั้งระวังโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และหากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป์องกันโรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคฉี่หนู

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 7 - 10 ต.ค. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 9 - 10 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ต.ค. มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค.จะมีฝนฟ์าคะนองกับฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป์ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป์องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคเชื้อราในไม้ผลและยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในพริก และโรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 7 -10 ต.ค. ในช่วงวันที่ 7 - 9 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ในช่วงวันที่ 10 - 13 ต.ค. 65 ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 1-4 ชม.

ฝั่งตะวันตก ฝนฟ์าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 7 - 9 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ในช่วงวันที่ 10 - 13 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ์าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 1-4 ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ์าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป์องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป์องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป์องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 6 ตุลาคม 2565 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุ "โนรู (NORU, 2216)" ปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันแรกของช่วง และปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือในวันต่อมา ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 1-2 ก.ย. และพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกในวันที่ 3 ก.ย. นอกจากนี้มีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วงและมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งหลังของช่วง ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 5 ต.ค. มีฝนร้อยละ 55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและพะเยาในวันที่ 1 ต.ค. จังหวัดสุโขทัยและลำปางในวันที่ 1-2 ต.ค. จังหวัดลำพูนในวันที่ 1-4 ต.ค. จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 1, 3 และ 4 ต.ค. จังหวัดอุตรดิตถ์และพิษณุโลกในวันที่ 2 ต.ค. จังหวัดแพร่และน่านในวันที่ 2-3 ต.ค. และจังหวัดเพชรบูรณ์และพิจิตรตลอดช่วง และรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 1 ต.ค. จังหวัดลำปางในวันที่ 2 ต.ค. จังหวัดเชียงรายในวันที่ 4 ต.ค. และจังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 5 ต.ค.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 4 และ 6 ต.ค. มีฝนร้อยละ 50-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ ชัยภูมิ และขอนแก่น กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 2-6 ต.ค. จังหวัดมหาสารคามในวันที่ 3-6 ต.ค. จังหวัดบุรีรัมย์และนครราชสีมาตลอดช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ในวันที่ 30 ก.ย.

ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 55-60 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 2 และ 3 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 2-6 ต.ค. จังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 3 ต.ค. จังหวัดลพบุรีและชัยนาทตลอดช่วง

ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 5 ต.ค. มีฝนร้อยละ 55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 3 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 3-6 ต.ค. และจังหวัดสระแก้วในวันที่ 4 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 70-95 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 1 ต.ค. มีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 2, 3 และ 5 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกของช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพังงาในวันที่ 30 ก.ย. และจังหวัดตรังในวันที่ 5-6 ต.ค.

          ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร        มหาสารคาม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร นครสวรรค์ ชัยนาท นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรสงคราม   ฉะเชิงเทรา สงขลา นราธิวาส และพังงา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก      กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี        สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์             ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ