พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 121/2565
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11 - 16 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนลดลงและอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 12 - 13 ต.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนใต้ในช่วงวันที่ 13 - 14 ต.ค. ทำให้ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนเพิ่มขึ้น คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีสภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 11 - 16 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ยังคงทำได้เนื่องจากความชื้นในดินยังคงมีอยู่แต่ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงที่พืชผลิดอกออกผลเป็นช่วงที่พืชต้องการน้ำมากกว่าระยะอื่นๆ หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอน้ำจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ ไม้ผลที่ออกดอกในช่วงฤดูหนาว เช่น ลำไยและลิ้นจี่ เป็นต้น ชาวสวนควรกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารของพืช และเตรียมตัวออกดอกในช่วงที่อุณหภูมิต่ำสุดลดลงและยาวนานเพียงพอ อนึ่ง ระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาวสำหรับตนเองเอาไว้ให้พร้อมรวมทั้งวัสดุกันลมหนาวและอุปกรณ์เพิ่มความอบอุ่นภายโรงเรือนสำหรับสัตว์เลี้ยงเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 11 - 16 ต.ค. มีอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับในช่วงที่อุณหภูมิลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย นอกจากนี้ควรจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเองเอาไว้ให้พร้อมและวัสดุกันลมหนาวเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือนและอุปกรณ์เพิ่มความอบอุ่นภายโรงเรือนสำหรับสัตว์เลี้ยงให้พร้อมใช้งาน อนึ่ง พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง และน้ำกัดเท้า เป็นต้น ภาคกลาง พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ ในช่วงวันที่ 11 - 13 และ 16 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรกโนสในองุ่นและฝรั่ง โรคยอดเน่าในกล้วยไม้ เป็นต้น สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ เช่น งู ตะขาบ และ แมงป่อง เป็นต้น รวมทั้งระวังโรค โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ภาคตะวันออก พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 13 และ 16 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา และโรครากเน่าในพริกไทย เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นภายในแปลงปลูก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ภาคใต้ พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง ในวันที่ 10 - 11 ต.ค. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 ต.ค. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเล มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 11-16 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่าในยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงฤดูฝนของภาคใต้ เกษตรกรควรจัดทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกพืช ขุดลอกคูคลองและสันดอนปากแม่น้ำ เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 3 - 9 ตุลาคม 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยในวันสุดท้าย ของสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์และมีรายงานน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 5 และ 8 ต.ค. มีฝนร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์และในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตากและเพชรบูรณ์ตลอดสัปดาห์ จังหวัดแพร่และน่านในวันที่ 3 ต.ค. จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนในวันที่ 3-4 ต.ค. และมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 4 ต.ค. และจังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 5 ต.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 35-60 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยโสธร มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ตลอดสัปดาห์ ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา กับมีรายงาน น้ำท่วมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 3 ต.ค. และจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 5-9 ต.ค. ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 5 และ 8 ต.ค. มีฝนร้อยละ 50-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 3 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครนายกในวันที่ 3 ต.ค. และจังหวัดสระแก้วในวันที่ 4 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตรังในวันที่ 5-6 และ 9 ต.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู ศรีสะเกษ นครสวรรค์ นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เลย อุดรธานี มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา