พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 124/2565 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 17 - 20 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง และมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก อุณหภูมิลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้บริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตลอดช่วง อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "เนสาท" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนโดยคาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนผ่านตอนใต้ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน และเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 19 - 20 ต.ค. 65 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับอย่างรวดเร็ว โดยจะส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่งเกิดขึ้นได้
คำเตือน ในช่วงวันที่ 17-20 ต.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว จะมีฝนเล็กน้อยบางแห่งกับหมอกในตอนเช้า หลังจากนั้นบริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งให้ควรความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 18 - 20 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงปลายฤดูฝนควรมีแหล่งน้ำสำรองไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตด้วย ส่วนพื้นที่การเกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 17 - 20 ต.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส มีฝนเล็กน้อยบางแห่งกับมีหมอกบางในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นถึงหนาวในช่วงเช้ากับมีลมแรง และฝนเล็กน้อยบางแห่ง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง อีกทั้งควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงจากอากาศที่หนาวเย็น สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 18 - 20 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส มีฝนเล็กน้อยบางแห่งกับมีหมอกบางในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในช่วงเช้ากับมีลมแรง และฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนในพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น รวมทั้งระวังโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคเลปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง สำหรับบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 18 - 20 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 ต.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส มีฝนเล็กน้อยบางแห่งกับมีหมอกบางในตอนเช้า ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. -ระยะนี้อากาศเย็นในช่วงเช้ากับมีลมแรง และฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคเชื้อราในไม้ผลและยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในพริก และโรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น
ภาคใต้
ระหว่างวันที่ 10 - 16 ตุลาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต้นสัปดาห์จากนั้นได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางตลอดสัปดาห์ โดยร่องมรสุมดังกล่าวได้พาดเข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางในวันที่ 13 ต.ค. อนึ่ง พายุดังกล่าวได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "เซินกา (SONCA,2219)" ในช่วงบ่ายของวันที่ 14 ต.ค. และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่เมืองกว๋างหงาย ประเทศเวียดนามในช่วงเช้ามืดของวันที่ 15 ต.ค. จากนั้นได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม และในช่วงบ่ายของวันเดียวกันพายุดังกล่าวได้อ่อนกำลังลงอีกเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมประเทศลาว ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นในวันแรกของสัปดาห์และในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 10, 14 และ 15 ต.ค. มีฝนร้อยละ 55-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 10, 12 และ 14 ต.ค. และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดตากและพิจิตร กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 11 และ 14 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานอากาศเย็นหลายพื้นที่ในตอนเช้าตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณเทือกเขาและยอดดอย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนในวันที่ 14-15 ต.ค. มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
บริเวณจังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี นอกจากนี้มีรายงานอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้าเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณเทือกเขาและยอดภู ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์และในระยะปลายสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 11 ต.ค. และจังหวัดสุพรรณบุรีในวันที่ 13 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าตลอดสัปดาห์ โดยในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีอากาศเย็นทั่วไป ภาคตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ กับมีฝนร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ในวันที่ 11-12 ต.ค. และ 15-16 ต.ค. โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสระแก้ว ฉะเชิงเทรา และระยองในวันที่ 11-12 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าเกือบตลอดสัปดาห์ โดยในวันสุดท้ายของสัปดาห์มีอากาศเย็นทั่วไป ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเพชรบุรีในวันที่ 10 ต.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ช่วงนี้มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ชลบุรี ระยอง ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุตรดิตถ์ มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร อุทัยธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และกระบี่
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา