พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 ตุลาคม 2565

ข่าวทั่วไป Wednesday October 19, 2022 13:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 19 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 125/2565 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน/ ยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้บริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. 65 คำเตือน บริเวณประเทศไทยตอนบน ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลง สำหรับภาคใต้ ขอให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 22 ต.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา ทำให้มีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนเจาะฝักและหนอนมวนใบในถั่วเหลือง เป็นต้น ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. 65 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. -ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา ทำให้ในตอนเช้ามีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำท่วมขังที่สกปรก เพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู เป็นต้น ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เพราะจะทาให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำท่วมขังที่สกปรก เพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคน้ากัดเท้า โรคฉี่หนู เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิลดลงเล็กน้อยกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. 65 มีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้าออกจากแปลงปลูกพืช ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ต.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคราสนิมในกาแฟ โรคราสีชมพูในยางพาราและไม้ผล เป็นต้น

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค.

บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 12 - 18 ตุลาคม 2565 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ลำพูน น่าน มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และยะลา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ