พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Wednesday October 26, 2022 14:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 128/2565 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26 - 28 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น สำหรับร่องมรสุมกำลังอ่อนยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง และอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะเริ่มลดลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงในระยะถัดไป สำหรับร่องมรสุมจะเลื่อนไปพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณ ทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยทะเล อันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ตลอดช่วง คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว ส่วนบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 26 - 28 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาว โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเอาไว้       ให้พร้อม ส่วนในบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 27 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ เฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28 ต.ค. - 1 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว สภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์กันหนาวสำหรับตนเองเอาไว้ให้พร้อม สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาว โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนไว้ด้วย ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้พืชชะงัก       การเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
          กลาง ในช่วงวันที่ 26 - 28 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส           ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %  ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน และควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ หลังคาไม่รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เนื่องจากฝนที่ตกและหยุดตกสลับกัน สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสังเกตหากพบศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด อนึ่ง ระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 28 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเล
          มีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. อากาศเย็น     ในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %  ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับฝนที่ตก      ไม่สม่ำเสมอสภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เกษตรกรควรหมั่นสังเกตหากพบศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด เพื่อป้องกันการระบาด สำหรับระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย           แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรครากเน่าในพริกไทย เป็นต้น ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 26 - 28 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %  ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 26 - 28 ต.ค.  ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร     ส่วนในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 33 องศาเซลเซียส  ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % - ระยะนี้จะมีฝนตกชุกกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกนานทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงในยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น โดยดูแล  แปลงปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นในพื้นที่การเกษตร ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง1-2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 19 - 25 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ชลบุรี ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา ระนอง และสตูล

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ