พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคใต้
สำหรับร่องมรสุมจะเลื่อนไปพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ตลอดช่วง คำเตือน ช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการ
เจ็บป่วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าและยังคงมีความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรคราน้ำค้างในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด (คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ) เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 28 ต.ค. - 1 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออกเฉียงเหนือ เฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงที่ผ่านมามีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ทำให้ดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับในพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วมขัง หากระดับน้ำลดลงแล้วควรฟื้นฟูแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
กลาง ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าและยังคงมีความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง (แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน บวบ ฯลฯ) เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคตาแดง โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร โรคฉี่หนู และโรคไข้เลือดออก เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ลมตะวันออกเฉียงเหนือ
ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรงและยังคงมีความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม.ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 1 พ.ย. 65 ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วงกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ และในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 21 - 27 ตุลาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้าเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง และมีรายงานฝนตกส่วนมากในระยะต้นและปลายช่วง สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางตลอดช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันตอนกลางในวันแรกของช่วง และมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง ทำให้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าทางตอนบนของภาค ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 22 และ 27 ต.ค. มีฝนร้อยละ 45 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นและกลางช่วง ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 10-15 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าในระยะต้นและกลางช่วง โดยมีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่ในระยะกลางช่วงมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าในบางวัน โดยมีฝนร้อยละ 35-65 ของพื้นที่ เว้นแต่ระยะกลางช่วงมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีและนครนายก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 25-26 ต.ค. มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกของช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 21, 26 และ 27 ต.ค. และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 25 ต.ค. โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดภูเก็ต นราธิวาส และสตูลในวันที่ 21 ต.ค.
ในช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดตรัง และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ตาก ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา ระนอง พังงา และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา