พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคใต้
คำเตือน ในช่วงวันที่ 3 - 4 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นลง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 5 - 8 พ.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยกับมีหมอกในบางพื้นที่และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งให้ควรความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 3 - 4 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในช่วงวันที่ 4 - 5 พ.ย. ส่วนมากด้านตะวันตกของภาคส่วนในช่วงวันที่ 5 - 8 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 14-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้าและมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงปลายฤดูฝนควรมีแหล่งน้ำสำรองไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตด้วย สำหรับบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 - 4 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 เฉียงเหนือ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 8 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 3-4 พ.ย. จะมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งควรระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงจากอากาศที่หนาวเย็น สำหรับในช่วงวันที่ 5-8 พ.ย. จะมีอากาศเย็น โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยกับมีหมอกในตอนเช้า ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้วเกษตรกรไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายจากหมอกและน้ำค้างได้ ส่วนพื้นที่การเกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม กลาง ในช่วงวันที่ 3 - 4 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 8 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในช่วงเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงปลายฤดูฝนควรมีแหล่งน้ำสำรองไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตด้วย
ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 - 4 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศา
เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. -ระยะนี้อากาศเย็นในช่วงเช้าหลังจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยกับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งควรระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคเชื้อราในไม้ผลและยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าในพริก และโรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. ส่วนมากทางตอนกลางถึงตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2565 ช่วงนี้มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย ตาก ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา