พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคใต้
คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นประมาณ1เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ภาคเหนือ
อากาศเย็นทางตอนบนของภาค กับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 15 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 22 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอากาศที่เย็นทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย และควรให้อาหารในช่วงสายหรือช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้น สัตว์น้ำจะกินอาหารได้มากขึ้น ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผลที่ออกดอกในช่วงฤดูหนาว เช่นลำไยและลิ้นจี่ ควรดูแลกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียนและงดการให้น้ำเพื่อให้พืชเตรียมตัวแตกตาดอกเมื่ออุณหภูมิลดลงและยาวนานที่เหมาะสม โดยเมื่อเห็นดอกชัดเจนและเพียงพอแล้วจึงค่อยให้น้ำโดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น อนึ่ง ในช่วงฤดูหนาวอากาศจะจมตัว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้ยากแต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียงทำให้ ทัศนวิสัยลดลง เป็นอุปสรรคต่อการใช้รถใช้ถนนและควันไฟอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 18 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนใหญ่ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 24 เฉียงเหนือ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 22 พ.ย. ตอนบนของภาคมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - สำหรับสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบตัวที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์และสารคัดหลั่งจากสัตว์โดยตรง หากมีความจำเป็นต้องสัมผัสควรสวมถุงมือยางและสวมชุดป้องกันให้มิดชิด อนึ่ง เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปียังคงทำได้หากความชื้นในดินยังมีอยู่ แต่ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโตและผลิดอกออกผล กลาง ในช่วงวันที่ 16 - 19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบตัวที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์และสารคัดหลั่งจากสัตว์โดยตรง หากมีความจำเป็นต้องสัมผัสควรสวมถุงมือยางและสวมชุดป้องกันให้มิดชิด ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลคุณภาพของน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และรักษาสมดุลระหว่างจำนวนสัตว์น้ำและปริมาณน้ำที่มีอยู่หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเล
มีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลคุณภาพของน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และรักษาสมดุลระหว่างจำนวนสัตว์น้ำและปริมาณน้ำที่มีอยู่หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ระยะนี้จะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง(ฤดูหนาวและฤดูร้อน) ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และช่วงวันที่ 16 - 18 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อนึ่ง ในช่วงวันที่ 19 - 22 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 16 - 18 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 22 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ ส่วนในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานานเพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤศจิกายน 2565 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ชลบุรี ระยอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา