พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Monday November 21, 2022 15:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ระหว่างวันที่ 21 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 139/2565 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21 - 25 พ.ย. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณประเทศเวียดนามตอนล่างจะเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยตอนบน ทำให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนและภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง และมีฝนตกหนักมากบางแห่งใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยสูง 2 -3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 พ.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบนมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทั้งบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ย. บริเวณทะเลอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 21 - 23 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 23 - 25 พ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 พ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ทำให้บางพื้นที่ซึ่งดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก เป็นต้น โดยเฉพาะโรคจุดดำในสตรอว์เบอร์รี ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 25 พ.ย. มีเฉียงเหนือ ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. สำหรับในช่วงวันที่ 26 - 27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับฝนที่ตกติดต่อกันในช่วงนี้ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย ส่วนในระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

กลาง ในช่วงวันที่ 21 - 22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 23 - 25 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยในช่วงวันที่ 23 - 25 พ.ย. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก โดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำ ผักกาด และพืชตระกูลแตง เป็นต้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ย.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-4 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น โดยในช่วงวันที่ 21 - 24 พ.ย. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผลและยางพารา เช่น โรครากขาวในยางพารา โรครากเน่าในไม้ผล และโรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 25 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-4 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21 - 25 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 27 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ และโรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง ในระยะนี้บริเวณทะเลอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง โดยเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤศจิกายน 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตลอดสัปดาห์ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในระยะดังกล่าว ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีฝนตกตลอดสัปดาห์ แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนมากบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเกือบตลอดสัปดาห์และเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ นอกจากนี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบ มะละกาและภาคใต้ตอนล่างในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดสัปดาห์ กับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาค ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 20-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ใน

วันที่ 15 พ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14, 17 และ 18 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 18 พ.ย. โดยมีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 15, 16 และ 19 พ.ย. มีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสงขลาและปัตตานีในวันที่ 14-17 พ.ย. และจังหวัดพัทลุงในวันที่ 15 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา พังงา กระบี่ และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ