พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Friday November 25, 2022 14:11 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 141/2565 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 26 - 29 พ.ย. ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้มีกำลังอ่อน ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อน     พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทย     มีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทั้งบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุม

ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1- 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง คำเตือน ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 25 - 26 และ 30 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 29 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 13 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25       กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม     เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนในช่วงฤดูหนาวอากาศจะจมตัว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้ยาก แต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียงทำให้ทัศนวิสัยลดลง โดยเฉพาะบริเวณถนนหนทางจะเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรและควันไฟอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 30 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด เฉียงเหนือ 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 18 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง              ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.  - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีในระยะนี้ยังคงทำได้หากความชื้นในดินยังคงมีอยู่ แต่ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในช่วงระยะเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงที่พืชผลิดอกออกผลเป็นช่วงที่พืชต้องการน้ำมากกว่าระยะอื่นๆ หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงและดูแลควรจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
          กลาง ในช่วงวันที่ 25 - 26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนระยะนี้ปริมาณการระเหยของน้ำมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 30 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร หลังจากนั้น อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้แม้ปริมาณและการกระจายของฝนลดลง แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรยังคงต้องระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหายและอาจตายได้ โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง(ฤดูหนาวและฤดูร้อน)  ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 30 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง หลังจากนั้น มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 25 - 26 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 25 - 26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30       กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %  - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินและอากาศ      มีความชื้นสูง ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง  AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 18 - 24 พฤศจิกายน 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีรายงานฝนตกบริเวณประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะในระยะปลายช่วงที่มีฝนเกือบทั่วไปกับฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตลอดช่วง ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ในวันแรกของช่วง นอกจากนี้มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคตะวันออกในวันที่ 23 พ.ย. และเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคใต้ตอนบนในวันที่ 24 พ.ย. ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วง กับมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่

2

          ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาค ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วงมีฝน      ร้อยละ 50-65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 65-85    ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันแรกและวันสุดท้ายของช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 19, 21 และ 22 พ.ย. มีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระยองในวันที่ 24 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-95 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 22-23 พ.ย. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 22 พ.ย. และจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 23 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งหลังของช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตรังในวันที่ 23 พ.ย.

ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา และตรัง ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก เลย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สระแก้ว จันทบุรี ตราด ชุมพร พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และภูเก็ต

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ