พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ข่าวทั่วไป Wednesday December 7, 2022 14:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ออกประกาศวันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 146/2565 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7 - 10 ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกในระดับบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนบริเวณภาคใต้ หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียวจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลงอีก 2 - 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยง ส่วนบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 7 - 11 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 16 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิลดลงอีก 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 14 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับระยะนี้อากาศแห้ง เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับฝนที่ตกในบางพื้นที่ ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 10 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว เฉียงเหนือ 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ธ.ค. 65 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิลดลงอีก 2 - 4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 14 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็นเกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนบางพื้นที่ที่มีลมแรง เกษตรกรควรทำแผงกำบังลมหนาวป้องกันลมโกรกโรงเรือนและควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ ส่วนสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน กลาง ในช่วงวันที่ 8 - 11 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคราดำในมะม่วง ซึ่งโรคดังกล่าวทำให้มะม่วงเป็นคราบราสีดำบนใบ กิ่ง ช่อดอก หรือผล ทำให้ดอกบานช้า เหี่ยว หลุดร่วง และทำให้มะม่วงไม่ติดผล หากเกษตรกรพบควรฉีดพ่นน้ำเปล่าในตอนเช้าจะช่วยลดปัญหาช่อดอกและใบดำจากราดำได้ รวมทั้งใช้แสงไฟดักจับเพลี้ยจักจั่นมะม่วงเพื่อช่วยลดความความเสียหายจากเพลี้ยจักจั่น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคราดำที่บินมาเล่นไฟได้ ส่วนฝนที่ตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 11 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าและอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากสภาพน้ำเปลี่ยน รวมทั้งควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนบางพื้นที่ที่มีลมแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 11 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 8 - 10 ธ.ค. ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 8 - 10 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 11 - 13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 33 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางและโรคใบยางร่วงในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้เลี้ยงสัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันสภาพน้ำเปลี่ยนเนื่องจากน้ำจืดที่ไหลลงทะเลมากเกินไป อนึ่งระยะนี้บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

          ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2565  ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร           สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน สุโขทัย พิษณุโลก      กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ยะลา ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาคเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคกลาง

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ภาคใต้

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ