พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ภาคใต้
อ่าวไทยและภาคใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ ส่วนเกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยง ส่วนบริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก อนึ่ง ในช่วงวันที่ 19 - 20 ธ.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 19 - 21 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22 - 25 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยทางด้านตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 24 -25 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น ส่วนบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยอาจเกิดน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน นอกจากนี้ควรระวังอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในแปลงปลูกพืช โดยเฉพาะสวนยางพารา หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 25 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 16 องศาเฉียงเหนือ เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 - 30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนพื้นที่ซึ่งมีลมแรง เกษตรกรควรทำแผงกำบังลมหนาวป้องกันลมโกรกโรงเรือนและควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ ส่วนสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน กลาง ในช่วงวันที่ 20 - 23 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28- 32 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 25 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วรวมทั้งควรทำแผงกำบังลมหนาวป้องกันลมโกรกโรงเรือนและควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ ส่วนสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากสภาพน้ำเปลี่ยน รวมทั้งควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 23 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 25 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนเกษตรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกิน ส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 19 - 20 ธ.ค. ตอนบนของภาคมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 31 องศาเซลเซียส ส่วนตอนล่างของภาคมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 19 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ในช่วงวันที่ 21 - 25 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 2-5 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 19 - 20 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 25 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % - ระยะนี้ทางตอนล่างของภาคมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน โดยอพยพสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงและจัดเตรียมระบบ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวน โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางและโรคใบยางร่วงในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ และโรคราสีชมพูในไม้ผล เป็นต้น สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ อนึ่ง ในระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง รวมถึงระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 12 - 18 ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้นในระยะปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์ ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค โดยเฉพาะในระยะปลายสัปดาห์มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 16 ธ.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 17 ธ.ค. ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณจังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 15-16 ธ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 14 ธ.ค. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 17 ธ.ค. จังหวัดชลบุรีและจันทบุรีในวันที่ 18 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปร้อยละ 50-80 ของพื้นที่กับฝนหนักบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในระยะปลายสัปดาห์มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในวันที่ 12, 13, 14, 15 และ 18 ธ.ค. และจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชในวันที่ 18 ธ.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปัตตานีในวันที่ 17 ธ.ค. จังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา และนครศรีธรรมราชในวันที่ 18 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ในวันแรกและในระยะปลายสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ โดยมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในช่วงปลายสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตรังและสตูลในวันที่ 18 ธ.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมาภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ส่วนจังหวัดที่มี ฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฎร์ธานี และกระบี่ โดยวัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 658.8 มม. ที่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 65
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา