พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 9 - 15 เมษายน 2551

ข่าวทั่วไป Wednesday April 9, 2008 16:17 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ 
ระหว่าง 09 เมษายน 2551 - 15 เมษายน 2551
ภาคเหนือ
มีฟ้าหลัว และอากาศร้อน กับมีอากาศร้อนจัดบริเวณจังหวัดลำปาง และตาก ในช่วงวันที่ 9-11 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่ง ๆ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรจึงควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรตรวจสอบซ่อมแซมโรงเรือนให้อยู่ในสภาพแข็งแรง ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชผักรุ่นใหม่ควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ อนึ่ง สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้อุปโภคและบริโภคต่อไป
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศร้อน ในช่วงวันที่ 9-11 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้างและพืชผลทางการเกษตร ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะมีฝนฟ้าคะนอง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
ภาคกลาง
อากาศร้อน ในช่วงวันที่ 9-11 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรจึงควรระวังความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับข้าวนาปรังที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง รวมทั้งควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นทรุดโทรม
ภาคตะวันออก
อากาศร้อนทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 9-11 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ข้าวนาปรังที่สุกดีแล้ว ชาวนาควรรีบเก็บเกี่ยวรวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆตลอดช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย สำหรับบริเวณที่มีฝนตกชุก ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ในปาล์มและโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น สำหรับบริเวณที่มีฝนตกน้อยโดยเฉพาะทางด้านภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชที่อยู่ในระยะต้นกล้า
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ