พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 - 17 มกราคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday January 11, 2023 14:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 - 17 มกราคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 11 - 15 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ในขณะที่ในช่วงวันที่ 11 - 12 ม.ค. คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ส่งผลทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรกหลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อน แต่ยังคงมีฝนตกหนัก บางแห่ง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 16 - 17 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนสภาพอากาศแปรปรวน โดยจะมีอากาศหนาวเย็นและในช่วงวันที่ 11 - 12 ม.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ม.ค.บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

           คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 11 - 12 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 11 - 12 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด  29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด  26 - 30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 11 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ ส่วนบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร สำหรับสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และหลีกเลี่ยงการจุดไฟเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะลอยขึ้นในชั้นบรรยากาศได้ยากเนื่องจากอากาศที่จมตัวในฤดูหนาว แต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณข้างเคียงทำให้ทัศนวิสัยลดลง โดยเฉพาะบริเวณถนนหนทางเป็นอุปสรรคต่อการใช้รถใช้ถนนและควันไฟอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย  ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 14 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60     เฉียงเหนือ ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 11 - 13 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด  24 - 29 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 15 - 17 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 14 - 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด  21 - 26 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 %  ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ม.ค.มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนในวันที่ 15-17 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่ติดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองหากใช้งานเสร็จแล้วควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันไฟลุกลามจนเป็นอัคคีภัย นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน นอกจากนี้ควรใช้น้ำ    อย่างประหยัดโดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
          กลาง ในช่วงวันที่ 11 - 15 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 11 - 13 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 16 - 17 ม.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 %           ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.  - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง กับมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ช่วงนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชไร่และพืชผัก หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชตาย สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ  ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 15 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ในช่วงวันที่ 11 - 12 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 16 - 17 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ในช่วงวันที่ 11 -12 ม.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรเก็บกักน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ส่วนในวันที่ 16-17 ม.ค. จะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกัน กิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงและดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ดังนั้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าว ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 12 - 15 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30      กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 %  ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11 - 13 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 %   - ระยะนี้ทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย กับจะมีฝนฟ้าคะนอง และในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค.จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่ทางตอนบนของภาคควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนทางตอนล่างของภาคความชื้นในดินและในอากาศมีสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคใบยางร่วงในยางพารา เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่หนักเข้าพื้นที่เพาะปลูกเพราะจะทำให้ดินแน่นส่งผลต่อรากพืชและเครื่องจักรกลอาจติดหล่มได้ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 4-10 มกราคม 2566 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี พัทลุง ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ