พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 มกราคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ฉบับที่ 6/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 13-14 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อน/ ลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 15-19 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนัก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร คำเตือน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่ที่หนาวเย็นลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ในช่วงวันที่ 15-19 ม.ค. จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส
ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 9-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 13-17 ม.ค. 66 ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 18-19 ม.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - อากาศเย็นถึงหนาว ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอรวมทั้งดูแลสุขภาพให้เข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังพืชผลทางการเกษตรเสียหายจากน้ำค้างแข็งไว้ด้วยตะวันออก ในช่วงวันที่ 13-14 ม.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 15-19 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 21-26 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. -ในช่วงวันที่ 15-19 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศา ทำให้มีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องการการเจ็บป่วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรปรับลดปริมาณอาหารลง เนื่องจากในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลงสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย เศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องการเกิดอัคคีภัย เนื่องจากสภาพที่แห้งและมีลมแรง
กลาง ในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 16-19 ม.ค. 66 อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. -ในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง โรคราแป้งในมะม่วงและกุหลาบ เป็นต้น จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศา ทำให้มีอากาศเย็นและมีลมแรง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เย็นลง จากสภาวะอากาศที่แห้งและมีลมแรงทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชหรือโคนต้นพืช เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินแล้วยังเป็นการรักษาอุณหภูมิดินได้ด้วย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ม.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. -ในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราแป้งในมะม่วง โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เป็นต้น ดังนั้นเกษตรกรควรระวังโรคพืชดังกล่าวไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพารา สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณของสัตว์น้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ม.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 13-16 ม.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - เนื่องจากในระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกับ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมขังในช่วงที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรเร่งฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้งานได้ดีดังเดิม และไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-19 ม.ค.บริเวณทะเลอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ Pk ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 6-12 มกราคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งหลังของช่วง นอกจากนี้คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาคเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนในระยะครึ่งหลังของช่วงส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอ่อนกำลังลง กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างใกล้ปลายแหลมญวนในวันที่ 10 ม.ค. ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝน โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของช่วง
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 8 ม.ค. โดยมีฝนร้อยละ 5-10 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยเฉพาะในวันที่ 10-11 ม.ค. มีฝนร้อยละ 75-85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ส่วนวันอื่นๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่
ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของช่วง ส่วนวันอื่น ๆ มีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 10 ม.ค.
ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางพื้นที่ในวันที่ 11 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
มีอากาศเย็นหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลาและปัตตานีในวันที่ 7-8 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-35 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกของช่วงมีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 10 และ 12 ม.ค.
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ระยอง ตราด สุราษฎร์ธานี พัทลุง ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา