พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 16 - 22 มกราคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ 16 มกราคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 7/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16-19 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง
ในช่วงวันที่ 17-22 ม.ค. 66 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงค่อนข้างแรง ส่งผลให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 20-22 ม.ค. 66 ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในช่วงวันที่ 17-22 ม.ค. 66 บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 17-18 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ เป็นต้น นอกจากนี้ควรระวังการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า ตะวันออก อากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. 66 อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 9-17 เฉียงเหนือ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 21-26 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาวแก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้ง
กลาง อากาศเย็นตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. 66 อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ม.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรให้อาหารแก่สัตว์น้ำอย่างเหมาะสม เพราะในช่วงอากาศเย็นสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย อาจทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก อากาศเย็นตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. 66 อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด
17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 17-22 ม.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. 66 จะมีอากาศเย็นกับมีลมแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสม ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 16-19 ม.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ม.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 17-22 ม.ค. 66 ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 16-19 ม.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ม.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 17-22 ม.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 9 - 15 มกราคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันที่ 10-13 ม.ค. นอกจากนี้คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 11-12 ม.ค. ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวส่วนมากทางตอนบนของภาคเหนือ ส่วนภาคอื่น ๆ มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยประเทศไทยตอนบนมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุม อ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างใกล้ปลายแหลมญวนในวันที่ 10 ม.ค. ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างในวันที่ 11 ม.ค. ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกตลอดสัปดาห์ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาคในวันแรกของสัปดาห์และในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 13 ม.ค. โดยมีฝนร้อยละ 5-10 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรก
ของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 10-11 ม.ค. มีฝนร้อยละ 75-85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 10 ม.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ในวันที่ 11 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 10 และ 12 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 10, 12 และ 13 ม.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ระยอง ตราด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา