พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 13/2566
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 30 - 31 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรง ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณห่างฝั่งมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3 - 8 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขณะที่ในช่วงวันที่ 2 - 5 ก.พ. มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 30 - 31 ม.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะขณะสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 30 - 31 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 - 32 องศาเซลเซียสบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 2 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 4 - 6 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 3 - 5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็น สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และอาจเกิดน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และระวังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นในโรงเรือน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง และระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่ และพืชผัก เป็นต้น รวมทั้งควรลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเสียหายได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 - 31 ม.ค. อากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24 - 29 องศาเฉียงเหนือ เซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 โดยในช่วงวันที่ 2 - 5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็น ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและอาจมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและระวังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่ และพืชผัก เป็นต้น และในช่วงวันที่ 2 - 5 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเสียหายได้ กลาง ในช่วงวันที่ 30 - 31 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 3 - 6 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 3 - 5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ในช่วงวันที่ 3 - 5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเสียหายได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 30 - 31 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 3 - 6 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 2 - 5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดโดยให้น้ำแบบมีประสิทธิภาพ และวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้สำหรับการเกษตรในช่วงแล้ง และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน และในวันที่ 2-5 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองเกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเสียหายได้
ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 2 - 4 ก.พ. มีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 30 - 31 ม.ค. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 31 ม.ค. - 5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 30 - 31 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % - สำหรับทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม ส่วนทางตอนกลางของภาค ปริมาณและการกระจายจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนทางตอนล่างของภาคดินและอากาศยังคงมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคหน้ากรีดยางและโรคใบยางร่วงในยางพารา และโรคราสีชมพูในไม้ผล เป็นต้น สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 30 - 31 ม.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 23 - 29 มกราคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามันมีกำลังแรงเกือบตลอดสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศหนาวเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 23, 24 และ 27 ม.ค. มีอากาศหนาวหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 26 ม.ค. มีอากาศหนาวหลายพื้นที่ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทราในวันสุดท้าย ของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 26-27 ม.ค. มีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 25 ม.ค. มีฝนหนักถึงหนักในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 25 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 25 ม.ค. มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีรายงานฝนหนักบางพื้นที่ในวันที่ 23 และ 25 ม.ค.
สัปดาห์ที่ผ่านมาภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา และกระบี่ โดยวัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 200.0 มม. ที่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25 ม.ค.
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา