พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday February 1, 2023 13:47 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 1 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 14/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ในช่วงวันที่ 2-7 ก.พ. มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ตลอดช่วง ประกอบกับในช่วงวันที่ 2-4 ก.พ. มีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียว จะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และในช่วงวันที่ 2-7 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส ในขณะที่ในช่วงวันที่ 3-7 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นสะสมป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส ในขณะที่ในช่วงวันที่ 2-5 เฉียงเหนือ ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาวแก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้งและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย

กลาง ในช่วงวันที่ 1-3 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส ในขณะที่ในช่วงวันที่ 3-7 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรให้อาหารแก่สัตว์น้ำอย่างเหมาะสม เพราะในช่วงอากาศเย็นสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย อาจทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 1-3 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส ในขณะที่ในช่วงวันที่ 2-

7 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในไม้ผล เช่น หนอนเจาะเมล็ดและหนอนเจาะผล เป็นต้น นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยน้ำ รักษาความชื้นในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 2-4 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5-7 ก.พ. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1-2 และ 5-7 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 3-4 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในไม้ผล เช่น โรคราแป้ง โรคใบติด และโรครากเน่าโคนเน่า เป็นต้น สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 25-31 มกราคม 2566 ภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา และกระบี่ โดยวัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 200.0 มม. ที่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25 ม.ค.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ