พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6-12 กุมภาพันธ์ 2566

ข่าวทั่วไป Monday February 6, 2023 15:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ฉบับที่ 16/2566

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 6 ? 12 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดพาความหนาวเย็นจากที่ราบสูงทิเบตและประเทศเมียนมาเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิลดลง 2 ? 5 องศาเซลเซียส สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ตลอดช่วง

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง สำหรับบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระมัดระวังในการสัญจร โดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา รวมทั้งเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อพืชผลทางการเกษตรไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร

ภาค

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์

เหนือ

อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 6 ? 9 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2 ? 5 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 13 ? 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 36 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4 ? 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.

- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับบางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร และอาคารบ้านเรือน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้ง หลังเลิกใช้งาน

ตะวันออก เฉียงเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 19 ? 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็น ถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 ? 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.

- ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมและใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

กลาง

มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.

- ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ สภาพอากาศเหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้พืชชะงัก การเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจพื้นที่การเกษตร หากพบการระบาดของศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงพืชขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะช่วงผลิดอกออกผล เป็นช่วงที่พืชต้องการน้ำมากที่สุด หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและดอยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง

ตะวันออก

มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 ? 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม.

- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ช่วงนี้จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา รวมทั้งควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก โดยเฉพาะโรคราดำในมะม่วง โดยฉีดน้ำบริเวณทรงพุ่ม หากมะม่วง อยู่ในระยะออกดอกไม่ควรฉีดแรงเกินไปเพราะจะทำให้ดอกช้ำ การติดผลลดลงได้ สำหรับฝนที่ตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก ซึ่งจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ใต้

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 7 ? 12 ก.พ. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม.

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ? 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 ? 80 %

- ช่วงนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย สำหรับทางตอนบนสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ รวมทั้งควรระวังและป้องกันอัคคีภัยโดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน ส่วนทางตอนกลางของภาค ฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวัง และป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับทางตอนล่างของภาค ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบยางร่วงในยางพารา รวมทั้งโรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น

AS

ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันแรก ของสัปดาห์จากนั้นมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ นอกจากนี้มีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนเข้า ปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นและมีฝนตกในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในวันแรกของสัปดาห์จากนั้นมีกำลังอ่อนลง โดยในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียวในระยะดังกล่าว ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกตลอดสัปดาห์ส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค 2

ภาคเหนือ มีอากาศหนาวทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวในบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 31 ม.ค. โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวทั่วไปกับมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ โดยในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์อุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นในหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรก ของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 4 ก.พ. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค จากนั้นมีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-60 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 3 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศเย็นบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 30 ม.ค., 2 และ 3 ก.พ. มีฝนร้อยละ 60-85 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝน ร้อยละ 25-50 ของพื้นที่ในวันที่ 30 ม.ค. และ 2-4 ก.พ.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดปัตตานี และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เลย ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุทัยธานี กรุงเทพมหานคร ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และยะลา

สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก และฝนหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ภาคเหนือ

34.4

มม.

ที่

อ.อุ้มผาง

จ.ตาก

เมื่อวันที่

4

ก.พ.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

77.4

มม.

ที่

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง

จ.เลย

เมื่อวันที่

4

ก.พ.

ภาคกลาง

62.8

มม.

ที่

อ.ทัพทัน

จ.อุทัยธานี

เมื่อวันที่

4

ก.พ.

ภาคตะวันออก

60.0

มม.

ที่

อ.เมือง

จ.ระยอง

เมื่อวันที่

3

ก.พ.

ภาคใต้

145.4

มม.

ที่

อ.มายอ

จ.ปัตตานี

เมื่อวันที่

3

ก.พ.

กรุงเทพมหานคร

43.5

มม.

ที่

โรงเรียนบ้านลาดพร้าว

เขตจัตุจักร

เมื่อวันที่

5

ก.พ.

สำหรับอุณหภูมิต่ำที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ภาคเหนือ

8.5

? ซ.

ที่

อ.อุ้มผาง

จ.ตาก

เมื่อวันที่

31

ม.ค.

(3.6

? ซ.

ที่

กิ่วแม่ปาน ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง

จ.เชียงใหม่

เมื่อวันที่

1

ก.พ.)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5.1

? ซ.

ที่

กกษ.นครพนม อ.เมือง

จ.นครพนม

เมื่อวันที่

30

ม.ค.

(5.0

? ซ.

ที่

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง

จ.เลย

เมื่อวันที่

30,31

ม.ค.

และ

ที่

อุทยานแห่งชาติภูเรือ อ.ภูเรือ

จ.เลย

เมื่อวันที่

30

ม.ค.)

ภาคกลาง

13.3

? ซ.

ที่

ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล

จ.ลพบุรี

เมื่อวันที่

31

ม.ค.

ภาคตะวันออก

15.8

? ซ.

ที่

อ.กบินทร์บุรี

จ.ปราจีนบุรี

เมื่อวันที่

31

ม.ค.

ภาคใต้

17.5

? ซ.

ที่

กกษ.หนองพลับ อ.หัวหิน

จ.ประจวบคีรีขันธ์

เมื่อวันที่

31

ม.ค.

กรุงเทพมหานคร

18.4

? ซ.

ที่

ท่าอากาศยานกรุงเทพ

เขตดอนเมือง

เมื่อวันที่

30

ม.ค.

หมายเหตุ

เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก

ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0

เกณฑ์อากาศหนาว อากาศเย็น อากาศหนาว อากาศหนาวจัด

อุณหภูมิอากาศ(องศาเซลเซียส) 16.0-22.9 8.0-15.9 ต่ำกกว่า 8.0

กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา 3

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 ?12 กุมภาพันธ์ 2566

ฉบับที่16/66

อุณหภูมิ

ความชื้นสัมพัทธ์

ฝนฟ้าคะนอง

คลื่นลม

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคใต้

ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร

02-399-2387 ; 02-366-9336

ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 %

ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 %

ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.

ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85 %

ระยะนี้ประเทศไทยตอนบนอากาศแปรปรวน กับมีหมอก ในตอนเช้า

1เมตร

1เมตร

ต่ำสุด 13-23 ?ซ.

สูงสุด 31-36 ?ซ.

ต่ำสุด 19-25 ?ซ.

สูงสุด 30-36 ?ซ.

ต่ำสุด 22-26 ?ซ.

สูงสุด 30-36 ?ซ.

ต่ำสุด 22-25 ?ซ.

สูงสุด 29-36 ?ซ.

ต่ำสุด 22-26 ?ซ.

สูงสุด 29-36 ?ซ.

1เมตร

ควร! คุมอุณหภูมิในโรงเรือน

ควร! ดูแลสุขภาพ

ระวัง! หนอน

ระวัง! อัคคีภัย

ระวัง! ราดำ

ควร! วางแผนการใช้น้ำ

ระวัง! หนอน

ควร! ปลูกพืชใช้น้ำน้อย

ระวัง! หนอน

ระวัง! อัคคีภัย

ระวัง! โรคเชื้อรา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ