พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 13 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday February 13, 2023 15:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 13 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 19/2566

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 14-17 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ในขณะที่ในช่วงวันที่ 16-19 ก.พ. คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ในช่วงวันที่ 14-19 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-4 องศาเซลเซียส

สำหรับในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน จะมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 ก.พ. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 14-17 ก.พ.บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่า สำหรับในช่วงวันที่ 15-19 ก.พ. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. และ 18-19 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 12-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.พ. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้าและมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นสะสมป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 14-15 ก.พ. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง เฉียงเหนือ และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 15-17 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-19 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงวันที่ 14-15 ก.พ. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง มีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า รวมทั้งควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้งและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย

กลาง ในช่วงวันที่ 14-15 ก.พ. อากาศร้อนในตอนกลางวัน มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นและมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก ในช่วงวันที่ 14-15 ก.พ. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 15-17

ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 18-19 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยน้ำ รักษาความชื้นในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับในพื้นที่ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราแป้ง โรคใบติด และโรครากเน่าโคนเน่า เป็นต้น สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 6 - 12 กุมภาพันธ์ 2566 ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นได้ปกคลุมภาคเหนือตอนบน โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาแต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนมากบริเวณภาคเหนือและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในตอนกลางวันอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ กับมีฝนตกบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนเกือบตลอดสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนในบางพื้นที่

ภาคเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้าเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 9 ก.พ. โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 7 และ 9 ก.พ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าในระยะต้นสัปดาห์จากนั้นมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 7 และ 9 ก.พ. ภาคกลางมีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้า ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในตอนเช้าเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีอากาศเย็นบางพื้นที่ในตอนเช้าเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร และกาญจนบุรีส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ หนองคาย บุรีรัมย์ สระแก้ว และนราธิวาส

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ