พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ฉบับที่ 27/2566
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 3 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2566
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3 ? 5 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวและอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ในช่วงวันที่ 3 ? 5 มี.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาค
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
เหนือ
อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 16 ? 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 ? 37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 ? 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 ? 15 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6 - 9 มี.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 18 ? 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 ? 38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 ? 16 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 ? 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม.
- ระยะนี้อากาศเย็นในตอนเช้า อากาศร้อนตอนกลางวัน บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย อีกทั้งสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน
ตะวันออก เฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 3 - 6 มี.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12 ? 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 ? 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5 ? 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 ? 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7 ? 9 มี.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 16 ? 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 ? 36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 ? 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 ? 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 3 - 6 มี.ค. อากาศหนาวเย็นและมีลมแรง บริเวณยอดภูอากาศหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รวมทั้งควรทำแผงกำบังลมหนาวป้องกันลมโกรกโรงเรือนและควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ นอกจากนี้เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน รวมทั้งบางพื้นที่ที่มีหมอกและน้ำค้าง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักกาดหอม เป็นต้น
กลาง
ในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 19 ? 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 ? 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 ? 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 มี.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 ? 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 ? 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า หลังจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยโดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากสภาพน้ำเปลี่ยน อีกทั้งควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงในตอนเช้าทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักกาดหอม เป็นต้น รวมทั้งบางพื้นที่ที่มีหมอก เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงควรระวังและป้องกันโรคราดำในมะม่วงไว้ด้วย
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 3 ? 5 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 19 ? 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 ? 33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 มี.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 21 ? 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 ? 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 ? 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยโดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของ ไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
ใต้
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 ? 5 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ? 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ? 30 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 ? 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 ? 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 4 - 9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ? 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 ? 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 ? 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 ? 80 %
-ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมี ลมแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ อนึ่ง ในระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
NT
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ? 2 มีนาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันสุดท้ายของช่วง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับภาคใต้มีอากาศเย็นหลายพื้นที่กับมีฝนส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 24 ก.พ. และ 1 มี.ค. โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 25 ก.พ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทและลพบุรีในวันที่ 25 ก.พ. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 24 ก.พ. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วงตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 25, 28 ก.พ. และ 1 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง เว้นแต่ในวันที่ 28 ก.พ. และ 1 มี.ค. มีฝนร้อยละ 50-75 ของพื้นที่
ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สำหรับปริมาณฝนสูงสุด วัดได้ 85.1 มิลลิเมตร ที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
2
สำหรับบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
ภาคเหนือ
9.4
? ซ.
ที่
อ.อุ้มผาง
จ.ตาก
เมื่อวันที่
1
มี.ค.
(4.0
? ซ.
ที่
ยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง
จ.เชียงใหม่
เมื่อวันที่
27
ก.พ.)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
8.7
? ซ.
ที่
กกษ.นครพนม อ.เมือง
จ.นครพนม
เมื่อวันที่
27
ก.พ.
(5.0
? ซ.
ที่
อุทยานแห่งชาติภูเรือ อ.ภูเรือ
จ.เลย
เมื่อวันที่
27
ก.พ.
ภาคกลาง
16.0
? ซ.
ที่
อ.ทองผาภูมิ
จ.กาญจนบุรี
เมื่อวันที่
28
ก.พ.
ภาคตะวันออก
17.3
? ซ.
ที่
กกษ.ฉะเชิงเทรา อ.สนามชัยเขต
จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อวันที่
28
ก.พ.
ภาคใต้
17.9
? ซ.
ที่
กกษ.หนองพลับ อ.หัวหิน
จ.ประจวบคีรีขันธ์
เมื่อวันที่
25,28
ก.พ.
กรุงเทพมหานคร
19.5
? ซ.
ที่
ท่าอากาศยานกรุงเทพ
เขตดอนเมือง
เมื่อวันที่
27
ก.พ.
หมายเหตุ
เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก
ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0
เกณฑ์อากาศหนาว อากาศเย็น อากาศหนาว อากาศหนาวจัด
อุณหภูมิอากาศ(องศาเซลเซียส) 16.0-22.9 8.0-15.9 ต่ำกกว่า 8.0
กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร
กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา 3
ประเทศไทยตอนบน อากาศเย็นตอนเช้า กับมี ลมแรง
กับมี อากาศร้อนในตอนกลางวัน
ฮ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร
02-399-2387
02-366-9336
ฝนฟ้าคะนอง
คลืน
อุณหภูมิ
ภาคเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคใต้
ระหว่างวันที่ 3 -9 มีนาคม 2566
ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 8-9 ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 8-9 ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 8-9 ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์ 50?60 % ความยาวนานแสงแดด 8-9 ชม.
1 ?2 เมตร
ต่ำสุด20 ?26 ?C
สูงสุด29 ?35 ?C
ต่ำสุด16 ?23 ?C
สูงสุด 35 ?38 ?C
ต่ำสุด19 ?25 ?C
สูงสุด31 ?37 ?C
1 เมตร
ฉบับที่27/66
ลมแรง
ต่ำสุด19 ?24 ?Cสูงสุด30 ?37 ?C
ต่ำสุด12 ?23 ?C
สูงสุด 28?36 ?C
ระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน
ค้ำยันกิ่งไม้ผล
ลดปริมาณอาหารลง
ควบคุมอุณหภูมิโรงเรือน
ควรคลุมดิน
ระวังอากาศหนาวเย็น?c?c
ควรคลุมดิน
ระวังโรคราน้ำค้าง
ระวังโรคราดำในมะม่วง
ฟื้นฟูสภาพสวน
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา