พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 2 เมษายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday March 27, 2023 14:15 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 2 เมษายน พ.ศ. 2566

ออกประกาศวันจันทร์ ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 37/2566

การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 27-29 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ/ ทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 2 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ตลอดช่วง คำเตือนในช่วงวันที่ 26-29 มี.ค. 66 ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 28-29 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-42 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 28-29 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะสวนผลไม้ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีแดดจัด หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและโรคลมแดด สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรอยู่นอกเขตชลประทานควรวางแผนการจัดการน้ำที่กักเก็บไว้อย่างประหยัดและคุ้มค่า เช่น การทำระบบน้ำหยด เป็นต้นตะวันออก อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 27-29 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ เฉียงเหนือ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 2 เม.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. -อากาศร้อนอบอ้าวในตอนกลางวันโดยในช่วงวันที่ 27-29 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ เช่น โคและกระบือ ไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้กลางแจ้ง ขณะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะสัตว์อาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย

กลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 28-29 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. -ในช่วงวันที่ 28-29 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง จากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในตอนกลางวันเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีแดดจัด หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและโรคลมแดด นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น ตะวันออก อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 27-29 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 2 เม.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 27-29 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตก เพื่อเพิ่มออกซิเจนและคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เข้ากัน ป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน น็อคน้ำตายได้ ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค. 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 มี.ค. - 2 เม.ย. 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27-30 มี.ค. 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 2 เม.ย. 66 ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยแป้งในไม้ผล เป็นต้น รวมทั้งควรวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและคุ้มค่า เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงที่มีฝนน้อย เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้เกษตรกรควรระวังการเกิดอัคคีภัยหรือไฟป่า โดยทำแนวป้องกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าพื้นที่การเกษตร PK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 20-26 มีนาคม 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันถัดมา นอกจากนี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว โดยวันสุดท้ายของสัปดาห์มีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้มีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 20 มี.ค. จังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 21 มี.ค. และจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 23 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 20, 21, 23 และ 25 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 23 มี.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองคายในวันที่ 20 มี.ค. จังหวัดสกลนครในวันที่ 22 มี.ค. และจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 24 มี.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 23 มี.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 20 และ 24 มี.ค. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสระแก้วในวันที่ 24 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะกลางและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 23 มี.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดยะลาในวันที่ 21 มี.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลาในวันที่ 23 มี.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 23-25 มี.ค. กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 23 มี.ค.

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ ขอนแก่น ราชบุรี ยะลา และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ