พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 เมษายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday April 3, 2023 15:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 เมษายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 40/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 3 - 5 เม.ย. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คำเตือน ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งขณะฟ้าคะนอง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 3 - 6 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ลมตะวันตก ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37 - 42 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานในที่โล่งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันไฟลุกลาม อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6 - 9 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 - 5 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าเฉียงเหนือ คะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตก บางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนและมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวไหม้และป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษา

อุณหภูมิดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนโดยอาจติดตั้งพัดลมเป่าอากาศร้อนออกไปและดูดอากาศเมื่อน้ำระเหยจะนำเอาความร้อนออกไปด้วยทำให้บริเวณรอบข้างอุณหภูมิลดลง อนึ่ง ในช่วงวันที่6 - 9 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฟ้าคะนอง กลาง ในช่วงวันที่ 3 - 6 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีแดดจัด เกษตรกรเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวไหม้และป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากประกอบกับปริมาณฝนมีน้อยทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉา ผลผลิตลดลง ถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชตายสูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยอาจติดตั้งพัดลมเป่าอากาศร้อนออกไปและดูดอากาศที่เย็นกว่าเข้ามาแทนที่ หากใช้พลังงานแสงอาทิตก็อาจลดค่าไฟฟ้าลงได้ หรือฉีดน้ำบริเวณหลังคา หรือฉีดน้ำเป็นฝอยบริเวณโรงเรือน หากมีน้ำน้อยอาจนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือนเมื่อน้ำระเหยจะนำเอาความร้อนออกไปด้วยทำให้บริเวณรอบข้างอุณหภูมิลดลง อนึ่ง ในช่วงวันที่6 - 9 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำ แยกชั้น ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3 - 5 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้า

คะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 9 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีแดดจัด เกษตรกรเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวไหม้และป้องกันร่างกาย ขาดน้ำ สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงและดูแลจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำมี่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ในช่วงวันที่6 - 9 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และหลังฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 3 - 6 เม.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 3 - 6 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ

10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้อากาศร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและ ควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพารา เพราะอาจทำให้ไฟลุกลามได้ง่าย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับน้ำระเหยที่มากในระยะนี้ เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานอาจทำให้ต้นพืชตายได้ ส่วนพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้ AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 2 เมษายน 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง โดยมีฝนส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีฝนบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 28,29 มี.ค. และ 1,2 เม.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ในวันที่ 28 มี.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด อุดรธานี ยโสธร มหาสารคาม และขอนแก่นในวันที่ 27 มี.ค. จังหวัดศรีสะเกษในวันที่ 27-29 มี.ค. จังหวัดสุรินทร์ หนองคาย ชัยภูมิ และหนองบัวลำภูในวันที่ 28 มี.ค. และจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 29 มี.ค. และจังหวัดนครพนมในวันที่ 1 เม.ย. และจังหวัดสกลนครและนครพนมในวันที่ 2 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝน บางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 29 มี.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลพบุรีในวันที่ 28 มี.ค. และจังหวัดราชบุรีในวันที่ 2 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคตลอดสัปดาห์ โดยมีร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 28-29 มี.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสระแก้วในวันที่ 27 มี.ค. และจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 2 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 30,31 มี.ค. และ 1 เม.ย. และมีรายงานลมกระโชก

แรงบริเวณจังหวัดกระบี่ในวันที่ 30 มี.ค.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักบริเวณจังหวัด นครพนม ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุทัยธานี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ