พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 เมษายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday April 10, 2023 13:58 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 เมษายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 43/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10 - 14 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

คำเตือน สำหรับในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฟ้าคะนอง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 10 - 14 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันตก ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 42 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศแห้งและร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยเฉพาะบางพื้นที่อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก โดยควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฟ้าคะนอง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง ส่วนสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรช่วยกันระวังและป้องกันอัคคีภัยและไฟป่า สำหรับพื้นที่ทำการเกษตรควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งงดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และ หญ้าแห้ง เป็นต้น อีกทั้งระยะนี้น้ำระเหยยังคงมีมาก เกษตรกรจึงควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 14 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองเฉียงเหนือ ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ช่วงนี้จะมีอากาศร้อนและมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันผิวไหม้และร่างกายขาดน้ำ ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฟ้าคะนอง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง สำหรับช่วงนี้อากาศแห้งประกอบกับความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน อีกทั้งระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนยังมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 10 - 14 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 42 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมใต้ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฟ้าคะนอง และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง สำหรับบางพื้นที่ที่ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น ในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน เช่น ติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน และ ฉีดน้ำลงบนหลังคาโรงเรือน เป็นต้น สำหรับระยะนี้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชและคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 14 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่วนในช่วงวันที่ 15-16 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก รวมทั้งหนอนเจาะผลทุเรียนที่เจาะเข้าไปในเมล็ด กัดกินอยู่ภายในและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อน ส่งผลให้ผลผลิตทุเรียนเสียหาย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 11 - 14 เม.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 11 - 16 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับสภาพอากาศที่แห้งและร้อนในตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันไฟลุกลาม นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และด้วง โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน รวมทั้งด้วงงวงและด้วงแรดในมะพร้าว เป็นต้น สำหรับระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยอีกทั้งอากาศที่แห้งยังทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมและควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง รวมถึงเกษตรผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 3 - 9 เมษายน 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นปกคลุมภาคเหนือและภาคกลางในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นมีกำลังแรงขึ้นแล้วพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน นอกจากนี้มีลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนส่วนมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งแรกและกลางสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงใหม่และเพชรบูรณ์ในวันที่ 8 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในวันที่ 5-6 เม.ย. โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 8 เม.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 3 เม.ย. จังหวัดสกลนครในวันที่ 7 เม.ย. จังหวัดอุดรธานี ชัยภูมิ และหนองบัวลำภูในวันที่ 8 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 8 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 6 เม.ย. โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 7 เม.ย. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 7-8 เม.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดระยองในวันที่ 7-8 เม.ย. จังหวัดชลบุรีในวันที่ 8 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-40 ของพื้นที่ทางตอนล่างของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันที่ 7 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 25 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 5 เม.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ อุดรธานี นครราชสีมา กาญจนบุรี ชลบุรี ตราด นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา นราธิวาส และ ตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ