พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 23 เมษายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday April 17, 2023 13:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 23 เมษายน พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 46/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คำเตือน ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัด ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานและดื่มน้ำบ่อยเพื่อป้องกันโรคลมแดด สำหรับเกษตรกรผู้เลี่ยงสัตว์ควรระบายความร้อนภายในโรงเรือนเพื่อลดอุณหภูมิให้แก่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาสม

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาคลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 44 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานในที่โล่งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้เกรียม และดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย รวมทั้งงดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และ หญ้าแห้ง เป็นต้น อีกทั้งระยะนี้น้ำระเหยยังคงมีมาก เกษตรกรจึงควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - เฉียงเหนือ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37 - 42 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ช่วงนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรอยู่ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันผิวไหม้และร่างกายขาดน้ำ สำหรับช่วงนี้อากาศแห้งประกอบกับความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน อีกทั้งระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนยัง มีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ กลาง อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 42 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรอยู่ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อป้องกันโรคลมแดด ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน เช่น ติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน และ ฉีดน้ำลงบนหลังคาโรงเรือน เป็นต้น สำหรับระยะนี้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชและคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ตะวันออก อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ

10 - 20 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจและดูแลวัสดุที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ระยะนี้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก รวมทั้งหนอนเจาะผลทุเรียนที่เจาะเข้าไปในเมล็ด กัดกินอยู่ภายในและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อน ส่งผลให้ผลผลิตทุเรียนเสียหาย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 18 - 23 เม.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยโดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และด้วง โดยเฉพาะหนอนกระทู้ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก หนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน รวมทั้งด้วงงวงและด้วงแรดในมะพร้าว เป็นต้น สำหรับระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยและน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมและควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรงเพื่อป้องกันสภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หากต้องการผันน้ำเข้าบ่อควรเก็บไว้ในบ่อพักก่อนปล่อยเข้าสู่บ่อเลี้ยง NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 10 - 16 เมษายน 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเล

จีนใต้ในระยะปลายสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยมีฝนในบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือมีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 13 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 13 เม.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสกลนครในวันที่ 12 และ 15 เม.ย. จังหวัดชัยภูมิในวันที่ 13 และ 15 เม.ย. จังหวัดสุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ในวันที่ 15 เม.ย. และจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 15-16 เม.ย. ภาคกลางมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคตะวันออกมีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 10,13,15 และ 16 เม.ย. กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 15 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชในวันที่ 16 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 10,12,13 และ 15 เม.ย.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ