พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 เมษายน พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Friday April 21, 2023 15:04 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 21 - 27 เมษายน พ.ศ. 2566

          ออกประกาศวันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 48/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21 - 23 เม.ย. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันออกของภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุม         ด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนกำลังลง ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง ขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง  คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยจะมีร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพและระวังโรคลมแดด ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อน โดยมีลักษณะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้ง ขณะฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้าและผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 22 - 24 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนช่วงวันที่ 25 - 26 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. วันที่ 27 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวไหม้และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน และหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 เม.ย.จะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้ นอกจากนี้ชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง ตะวันออก ในวันที่ 22 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีเฉียงเหนือ ลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 - 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้

ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนวันที่ 27 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานในที่โล่งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันผิวไหม้ และป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 เม.ย. จะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฟ้าคะนอง กลาง ในช่วงวันที่ 21 - 24 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 25 - 26 เม.ย. อากาศร้อน ในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. วันที่ 27 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคลมแดด โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน และดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน ฉีดน้ำลงบนหลังคาโรงเรือน และฉีดพ่นน้ำบริเวณโรงเรือน เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 เม.ย.จะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 - 22 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้า

คะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 26 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ส่วนวันที่ 27 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์70-80% ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคลมแดด โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน และควรดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจและดูแลวัสดุที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์

น้ำในระยะนี้ ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง รวมทั้งดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 21 - 24 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 39 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 21 - 22 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 27 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้มีอากาศร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยโดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ สำหรับระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยและน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมโดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 25 - 27 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว AS ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 14 - 20 เมษายน 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนอบอ้าวทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ สำหรับฝนในช่วงนี้ประเทศไทยตอนบนได้รับอิทธิพลจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเกือบตลอดช่วง นอกจากนี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันที่ 15-16 เม.ย. กับมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนในบางพื้นที่ในช่วงดังกล่าว ส่วนภาคใต้มีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง จากอิทธิพลของลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ตลอดช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและปลายช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยภูมิ สกลนคร สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ในวันที่ 15 เม.ย. และจังหวัดอำนาจเจริญในวันที่ 15-16 เม.ย. จังหวัดหนองคายและเลยในวันที่ 20 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะต้นและปลายช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 16-18 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนส่วนมากทางตอนบนของภาค กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในบางวัน กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 15 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 19 เม.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชในวันที่ 16 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ โดยมีฝนบางพื้นที่ในบางวัน กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 18 เม.ย.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ