พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ออกประกาศวันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 50/2566
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย. และ 2 พ.ค. ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 1 พ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรระวังอันตรายจากอากาศร้อนถึงร้อนจัด สำหรับในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 1 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่า
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย. 66 และ 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 1 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของไรแดง แอฟริกันในพืชตระกูลส้ม เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบของพืช นอกจากนี้ควรระวังอันตรายจากการเกิดอัคคีภัย ตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย. และ 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยเฉียงเหนือ ละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 1 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 1 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่า เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า รวมทั้งควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและทำแผงกำบังฝนสาดให้แก่สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากอยู่ในช่วงแล้งและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย
กลาง อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย. และ 2 พ.ค. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 1 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ตะวันออก อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย. และ 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของ
พื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในวันที่ 29 เม.ย. - 1 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวันตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27-28 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 29 เม.ย. - 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งตลอดช่วง สำหรับในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา นอกจากนี้ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2566 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา