พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday May 3, 2023 15:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 53/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมี/ อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. 66 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 พ.ค. 66 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง และทะเลอันดามันเริ่มทวีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว โดยในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. ขอให้ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ขณะมีพายุฝนฟ้าคะนอง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. 66 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งโดยเฉพาะบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดีและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและการเป็นโรคลมแดด นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วยตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. 66 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ เฉียงเหนือ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-9 ชม. -ในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่ร้อนอบอ้าว นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ เช่น โค และกระบือ ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่โล่งแจ้ง ขณะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้ กลาง ในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. 66 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. -ในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งโดยเฉพาะบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดีและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและการเป็นโรคลมแดด นอกจากนี้ควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟฝ้ายในพืชตระกูลแตง และกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค. 66 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในวันที่ 8-9 พ.ค. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 3-7 พ.ค.มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่ร้อนอบอ้าว รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้วยคุณภาพ ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับชาวสวนผลไม้ควรดูแลการผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 4-7 พ.ค. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วง 8-9 พ.ค. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 5-9 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร โดยในช่วงวันที่ 7-9 พ.ค. ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรปรับลดอัตราการเลี้ยงลง เพื่อป้องกันความแออัดของสัตว์น้ำ รวมทั้งควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตก เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5-9 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2566 มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลพบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน น่าน เลย หนองคาย สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พังงา ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ