พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday May 8, 2023 13:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 55/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. 66 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนบน ขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. ทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-6 ชม. - ระยะนี้อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนักเพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. จะมีฝนฟ้านองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำดังกล่าว โดยสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผล ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง สำหรับพืชผลทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด เฉียงเหนือ 20 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนวันที่ 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-6 ชม. - ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรอยู่ในที่โล่งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและดูแลแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้น หนาวเย็นจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีเนื่องจากทำให้ลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดลงไปได้

กลาง ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนวันที่ 14 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฝนฟ้าคะนองรวมทั้งไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง โดยในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนวันที่ 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจและดูแลวัสดุที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง โดยในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับพืชผลทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้ ใต้ ฝั่งตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. ฝั่งตะวันตก ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงโดยเฉพาะในภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9 - 14 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะต้นสัปดาห์ โดยมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นเป็นลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไปบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีรายงานฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 2 พ.ค. มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2-3 พ.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงรายในวันที่ 2 พ.ค. จังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 3 พ.ค. จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 3-4 พ.ค. และจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 4 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2, 3 และ 7 พ.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 2 พ.ค. และจังหวัดสกลนคร หนองบัวลำภู และอุดรธานีในวันที่ 3 พ.ค. ภาคกลางมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนจัดเกือบทั่วไป โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2-3 พ.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดสระบุรีในวันที่ 2 พ.ค. จังหวัดนครสวรรค์ในวันที่ 4 พ.ค. และจังหวัดอุทัยธานีในวันที่ 5 พ.ค. ภาคตะวันออกมีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีและฉะเชิงเทราในวันที่ 2 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันที่ 6 พ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 65-75 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 65-75 ของพื้นที่เว้นแต่ในวันที่ 1, 3 และ 6 พ.ค. มีฝนร้อยละ 25-35 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง น่าน เลย หนองคาย ชัยภูมิ ลพบุรี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ