พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 56/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 10 - 14 พ.ค. ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 10 - 13 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน
อ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ฝั่งอันดามันมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนบน และในช่วงวันที่ 14 - 15 พ.ค. จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศบังคลาเทศและเมียนมา คำเตือน ในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนัก ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 พ.ค. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้าและผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 10 - 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อน อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย กับจะมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำดังกล่าว โดยสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผล ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง อนึ่ง ในระยะครึ่งหลังของเดือนจะเป็นช่วงฤดูฝน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมและแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ เฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อน อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และจะมีฝน ฟ้าคะนองกับฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรจัดเตรียมพื้นที่เอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงลงค่อยลงมือปลูก หากทำได้ควรหันหัวแปลงปลูกไปตามทิศทางลม เพื่อให้ลมพัดผ่านได้สะดวก ลดความชื้นในแปลงปลูกลดการระบาดและลดความรุนแรงของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในช่วงฤดูฝน สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ กลาง ในช่วงวันที่ 10 - 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อน อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย กับจะมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับระยะครึ่งหลังของเดือนจะเป็นฤดูฝน พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรที่เตรียมดินสำหรับปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและขุดลอกคูคลองให้น้ำระบายได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกและโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึมและแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10 - 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม. - ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อน อากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย กับจะมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่นและเน่าเสียตลอดจนเปลือกผลไม้กองอยู่ภายในบริเวณสวนเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ดังนั้นเกษตรกรควรรวบรวมไปกำจัดนอกสวน โดยฝังให้ลึก เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืช สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11 - 16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 16 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้ เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนในระยะครึ่งหลังของเดือนจะเป็นช่วงฤดูฝน พื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง และทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมแปลงปลูก นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงโดยตรงแต่ควรพักน้ำในบ่อพักก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยลงบ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงด ออกจากฝั่ง ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 3 - 9 พฤษภาคม2566 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดลำพูน ศรีสะเกษ ปัตตานี ยะลา และพังงา ส่วนจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง น่าน เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา