พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday May 15, 2023 15:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 58/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 15-16 พ.ค. ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง คำเตือน ในช่วงวันที่ 15-16 พ.ค. บริเวณภาคเหนือจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับในช่วงวันที่ 18-21 พ.ค. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 15-16 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในข้าวโพด สำหรับในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ตะวันออก ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 เฉียงเหนือ พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนกออ้อยในอ้อย นอกจากนี้ควรทำสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา กลาง ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนกอข้าวในข้าว สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหากต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอติดต่อกันแล้วจึงเริ่มทำการเพาะปลูก ตะวันออก ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-21

พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนเจาะผลในทุเรียน สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 15-18 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 15-17 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนหน้าแมวในปาล์มน้ำมัน สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ RR ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 8 - 14 พฤษภาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยในระยะปลายสัปดาห์ อีกทั้งพายุไซโคลน "โมคา(MOCHA,01B)" ที่เคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางได้เคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและเคลื่อนขึ้นฝั่งที่เมืองซิตตเว รัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาในช่วงเย็นของวันที่ 14 พ.ค. ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ และมีอุณหภูมิลดลงจากช่วงที่ผ่านมา ส่วนทางภาคใต้มีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยเกือบตลอดสัปดาห์ ทำให้ภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะต้นและปลายสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงแต่ยังคงมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 45-70 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน เพชรบูรณ์ พิจิตร และกำแพงเพชรในวันที่ 8 พ.ค. และจังหวัดอุตรดิตถ์ในวันที่ 9 พ.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอนในวันที่ 13 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในวันที่ 9 และ 10 พ.ค. ส่วนวันอื่นๆ มีอากาศร้อนในบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 8 และ 11 พ.ค. มีฝนร้อยละ 45-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยภูมิและอุดรธานีในวันที่ 8 พ.ค. จังหวัดเลย ขอนแก่น และยโสธรในวันที่ 9 พ.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชัยภูมิและอุบลราชธานีในวันที่ 12 พ.ค. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 8 และ 11 พ.ค. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ สุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยาในวันที่ 8 พ.ค. และจังหวัดสิงห์บุรีในวันที่ 9 พ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในวันแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 30-80 ของพื้นที่ตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 8, 9, 10 และ 12 พ.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก และปราจีนบุรีในวันที่ 8 พ.ค. และจังหวัดฉะเชิงเทราในวันที่ 9 พ.ค. กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดชลบุรีในวันที่ 12 พ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 15-50 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและระยะปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะวันที่ 9 พ.ค. มีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก เลย หนองคาย อุดรธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ชลบุรี จันทบุรี ตราด ปัตตานี ยะลา และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง เพชรบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา นราธิวาส และตรัง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ