พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 23 พฤษภาคม 2566

ข่าวทั่วไป Wednesday May 17, 2023 13:14 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 17 - 23 พฤษภาคมออกประกาศวันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 59/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 17 - 20 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบน จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 18 - 23 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นโดยมีคลื่นสูง 1-2

เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 18 - 23 พ.ค. บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนกับฝนฟ้าคะนอง โดยบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฟ้าคะนอง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 17 - 20 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 21 - 23 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผล ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง สำหรับพืชผลทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น พืชผลการเกษตรที่แก่ดีแล้วเกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นและเสียหายได้ สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 17 - 20 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงเฉียงเหนือ วันที่ 21 - 23 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว      10 - 20 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์           65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 21 - 23 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรอยู่ในที่โล่งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึมและดูแลแผงกำบังฝนสาดให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้น หนาวเย็นจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนเกษตรกรที่เตรียมปลูกพืชในฤดูฝน ควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเอาไว้ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรเมื่อมีฝนตกหนัก สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีเนื่องจากทำให้ลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดลงไปได้  กลาง ในช่วงวันที่ 17 - 20 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 21 - 23 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ควรสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ตะวันออก ในช่วงวันที่ 17 - 20 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลม

ตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 23 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-85 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อน โดยในช่วงวันที่ 21 - 23 พ.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง รวมทั้งสำรวจและดูแลวัสดุที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อนทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 17 - 18 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 23 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 18 - 23 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-90 % - ระยะนี้อากาศร้อนกับมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้งควรระวังน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรครากขาวและโรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสีชมพูในไม้ผลและยางพารา เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง ในช่วงนี้บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 10 - 16 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก เลย หนองคาย อุดรธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ยโสธร ชลบุรี จันทบุรี และตราด ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว ระยอง เพชรบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง และพังงา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ