พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ข่าวทั่วไป Monday May 22, 2023 14:35 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 61/2566 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 22-24 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับหย่อมความกด/ อากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค. 66 มีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางและทะเลจีนใต้ตอนกลางจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศลาวและกัมพูชา ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออก

สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 22-26 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร คำเตือน ระยะนี้ จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน งดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค.

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 พ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้าย จากสภาวะอากาศที่มีฝนตกและหยุดสลับกันเกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนน้อยและบางพื้นที่อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 พ.ค. เฉียงเหนือ 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย จากสภาวะอากาศที่ร้อนในตอนกลางวันและมีฝนตก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรคแอนแทรคโนสในหอมแดง เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ปีกควรสำรวจซ่อมแซมโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคง่าย นอกจากนี้เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนน้อย โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนน้อยและบางพื้นที่อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง

กลาง ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 พ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. -ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ค.จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวันและมีฝนตก เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 พ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. -ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ค.จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ จากสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวันและมีฝนตก ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคผลเน่าในทุเรียน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเรื่องตีน้ำหลังจากฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ช่วงวันที่ 25-28 พ.ค. ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 23-26 พ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค. ในช่วงวันที่ 22-25 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ อนึ่งในช่วงวันที่ 26-28 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งPK ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 15 - 21 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้พายุดีเปรสชันที่อ่อนกำลังมาจากพายุไซโคลน "โมคา (MOCHA,01B)" ปกคลุมประเทศเมียนมาตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ก่อนอ่อนกำลังลงตามลำดับและสลายตัวในเวลาต่อมา ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีรายงานฝนกับฝนหนักในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลง โดยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ทางตอนล่างของภาคในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 85 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 15-35 ของพื้นที่ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพิจิตรในวันที่ 15 พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 30-50 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 40-65 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 16-17 พ.ค. มีฝนร้อยละ 15-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ไม่มีรายงานฝนตกหนักมาก ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ กาญจนบุรี สมุทรปราการ ระยอง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ